Page 274 - kpi20542
P. 274
ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มจาก
“เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
การขายสินค้าตลาดสดทุกวันพุธ
และวันอาทิตย์ จำนวน 62 ราย
(รายได้เฉลี่ย/ครั้ง/1คน =850บาท)
เฉลี่ยต่อเดือน 6,800 บาท (สำรวจ
ติดตามผลเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์
2560) รวมทั้งการที่ชุมชนกล้าที่จะ
ลงทุนร่วมหุ้นในการบริหารจัดการ
และเป็นเจ้าของร้านค้าวิสาหกิจ
ชุมชนตำบลข่วงเปา จำนวน 2,030
หุ้นๆ ละ 100 บาท
หากพิจารณาการตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนตำบลข่วงเปาโดยเครือข่ายหลักนั้น พบว่า
ศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนตำบลข่วงเปามีรายได้อันเกิดจากการจำหน่ายสินค้า ดังนี้
๏ รายได้จากค่าเช่าตลาดร้านค้าปลีกห้องแถว ร้านอาหาร จำนวน 30,000 บาท
๏ รายได้จากการเก็บค่าแผง เดือนละ 10,000 บาท
๏ รายได้จากการมีร้านมินิมาร์ท เดือนละ 150,000 บาท
๏ รายได้จากการขายสินค้าโอทอป เดือนละ 20,000 บาท
รวม รายได้ต่อเดือนก่อนหักค่าใช้จ่าย 210,000 บาท
ปัจจุบันศูนย์จำหน่ายฯ ดังกล่าวจำหน่ายเสื้อผ้าพื้นเมือง สินค้าแฮนด์เมด ของฝาก และ
กรณีศึกษา: ด้านเศรษฐกิจ ติดตามการสั่งจองสินค้าและเลือกดูผลิตภัณฑ์ได้ที่เฟซบุ๊กศูนย์สินค้าวิสาหกิจชุมชน ตำบล.ข่วงเปา
ผลิตภัณฑ์ชุมชน สามารถติดต่อและสอบถามสินค้าได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 081-9517060 หรือ
ตามแนวประชารัฐ
ปัจจัยความสำเร็จ
ความสำเร็จของโครงการที่สำคัญ ประการแรก คือ การกำหนดบทบาทขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลข่วงเปาเป็นศูนย์กลางในการทำงาน การให้ข้อเสนอแนะ การเป็นฝ่ายสนับสนุนและส่ง
เสริมให้ชุมชนทำงานมากกว่าที่จะเข้าไปดำเนินการโดยตรง สร้างให้เกิดพื้นที่ของการร่วมคิด ร่วม
ดำเนินการ ร่วมลงมือสร้างศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนจากกองทุนหมู่บ้านได้โดยมาจากฐานอาชีพ
เสริมในตำบลข่วงเปาเอง นำสินค้าที่สำคัญและโดดเด่นของตำบลมาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว
และยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แต่ละหมู่บ้าน การร่วมมือดำเนินการดังกล่าวสะท้อนให้เห็น
2 สถาบันพระปกเกล้า