Page 269 - kpi20542
P. 269
ศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนกองทุนหมู่บ้านตำบลข่วงเปา
จุดเริ่มต้น
จากการลงพื้นที่
เก็บสำรวจข้อมูล จปฐ.
ปี 2548 พบว่ารายได้เฉลี่ย
ข อ ง อ ง ค์ ก า ร บ ริ ห า ร
ส่วนตำบลข่วงเปามีรายได้
6 9 , 2 7 9 บ า ท / ค น / ปี “เหลียวหลัง แลหน้า” ท้องถิ่นไทยกับการจัดทำบริการสาธารณะ
รายได้เฉลี่ยครัวเรือน
1 8 9 , 2 0 8 . 9 2 บ า ท /
ครัวเรือน/ปี หรือเดือนละ
ประมาณ 15,767.41
ต่อเดือน รายได้ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในอาชีพและภาพรวมของเศรษฐกิจในตำบล
ชุมชนมีฐานะยากจน รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายเพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากการซื้อขายผลิตผล
ทางการเกษตร และรายได้จากอาชีพรับจ้างทั่วไป ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในพื้นที่ ปัญหา
ที่พบบ่อยในพื้นที่คือ ราคาของสินค้าทางการเกษตรมีราคาตกต่ำประกอบกับพื้นที่ของตำบล
ข่วงเปามีน้ำท่วม เกิดปัญหาในฤดูแล้ง บางพื้นที่ขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร เนื่องจาก
การเกษตรจะต้องใช้น้ำจากแม่น้ำปิง บางพื้นที่ท่อส่งน้ำยังไปไม่ทั่วถึงและไม่เพียงพอ ต้องอาศัยน้ำ
จากการขุดเจาะบาดาล และแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่จะเกิดโครงการนี้
ทางองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปาได้ดำเนินการฝึกอาชีพเสริมให้แก่ชุมชนแต่ละหมู่บ้านเพื่อ
แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าว เช่น กลุ่มเย็บผ้าบ้านหนองห่าย หมู่ที่ 1-13 กลุ่มทำขนมทองม้วน
หมู่ที่ 1 กลุ่มทำน้ำพริกลาบ หมู่ที่ 14 กลุ่มเพาะเห็ด หมู่ที่ 2, 12 กลุ่มทำไม้กวาดดอกหญ้าตำบล
ข่วงเปา หมู่ที่ 12 กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ หมู่ที่ 1 ผลิตดอกไม้ประดิษฐ์ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแม่บ้าน กรณีศึกษา: ด้านเศรษฐกิจ
ได้แก่ หมู่ที่ 8, 2, 12 กลุ่มจักสาน หมู่ที่ 14 และ15 กลุ่มทำขนมไทยตำบลข่วงเปา หมู่ที่ 12
กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย หมู่ที่ 3 กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชนเหล่านี้มีเป็นจำนวนมากและได้รับ
การสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) แต่ละกลุ่มได้ผลิตสินค้าและฝึกฝนอาชีพเสมอ ทั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์เรื่องรายได้ไม่เพียงพอ
ในครัวเรือน และวางแนวทางเพื่อเพิ่มรายได้ในอนาคต แต่ในขณะนั้นยังมิได้ริเริ่มการนำสินค้า
และผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชนไปวางจำหน่ายเพราะยังไม่มีพื้นที่และสถานที่รวมศูนย์ฯ อาชีพ
ที่เหมาะสม
สถาบันพระปกเกล้า 2