Page 46 - kpi20470
P. 46
5.2 ขนาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รายงานสถานการณ์ ประชาธิปไตยท้องถิ่นและความเป็นสถาบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ดังที่ อี.เอฟ.ชูมาเกอร์
เมื่อก่อนเราเชื่อกันว่า การปกครองส่วนท้องถิ่นยิ่งมีขนาดเล็กยิ่งดี! เพราะจะช่วยส่งเสริมพัฒนา
ได้กล่าวถึงประเด็น Small is Beautiful ซึ่งประเด็นนี้นับเป็นข้อถกเกียงกันอย่างมากทั้งจากนักวิชาการและ
ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีขนาดเท่าใดจึงจะเหมาสม?
ข้อค้นพบจากการสำรวจประชาธิปไตยท้องถิ่น ได้ชี้ชัดว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่
มีความเป็นสถาบันสูงกว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศบาลนคร
เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ และมีระดับความเป็นสถาบันสูง รองลงมาคือ องค์การบริหาร
ส่วนที่ 1 ประชาธิปไตยท้องถิ่น : บทสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย
ส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล ตามลำดับ ดังนั้นจึงเป็นไปได้หรือ
ไม่ว่า การผลักดันประชาธิปไตยท้องถิ่นกับความเป็นสถาบันจะสามารถพัฒนาได้ดีในองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่มากกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็ก?
อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ คือ ขนาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความ
สำคัญต่อการลงทุนของภาครัฐ โดยรัฐเลือกที่จะลงทุนในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มากกว่าพื้นที่ขนาดเล็ก เพราะ
การเลือกลงทุนในพื้นที่ขนาดใหญ่มีต้นทุนน้อยกว่าพื้นที่ขนาดเล็ก อีกทั้งยังมีความได้เปรียบที่เกิดจากการที่
หน่วยธุรกิจสามารถผลิตได้จำนวนมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการลงทุนในพื้นที่ลดลง (economy of scale) ดังนั้น
จึงเป็นไปได้ว่า เทศบาลนครที่มีสภาพความเป็นเมืองและมีฐานทรัพยากรในพื้นที่ที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงมี
โอกาสที่จะได้รับการพัฒนาจากรัฐมากกว่า ทั้งในแง่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ การพัฒนา
สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ส่งผลให้เทศบาลนครมีทรัพยากรมากพอที่จะพัฒนาความเป็นสถาบันและ
สามารถขับเคลื่อนประชาธิปไตยท้องถิ่นได้ดี
5.3 วาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีนายกดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 4 วาระขึ้นไป จะยิ่งมีความเป็น
ประชาธิปไตยท้องถิ่นสูง อีกทั้งยังสะท้อนความเป็นตัวแทนและความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารท้องถิ่น
ได้เป็นอย่างดีจริงหรือไม่?
ผลการสำรวจได้ชี้ให้เห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีนายกดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 4 วาระขึ้นไป
มีความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นสูงที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 รองลงมาคือดำรงตำแหน่งไม่เกิน 3 วาระ
และไม่เกิน 2 วาระ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 3.09 และสุดท้ายดำรงตำแหน่งไม่เกิน 1 วาระมีความเป็น
ประชาธิปไตยน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.05 ตามลำดับ
สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ วาระการดำรงตำแหน่งของนายกตั้งแต่ 4 วาระขึ้นไป ยังสะท้อนความเป็น
ตัวแทนและความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารท้องถิ่นเช่นเดียวกัน โดยผลการสำรวจพบว่า ยิ่งนายกดำรง
ตำแหน่งหลายวาระ ก็จะยิ่งมีระดับความเป็นตัวแทนสูง โดยนายกที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 4 วาระขึ้นไปจะมี
ความเป็นตัวแทนสูงมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 รองลงมาคือดำรงตำแหน่งไม่เกิน 3 วาระ, ไม่เกิน 2 วาระ,
และไม่เกิน 1 วาระ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42, 3.39 และ 3.35 ตามลำดับ ขณะเดียวกันก็มีระดับความเป็น
มืออาชีพสูงเช่นเดียวกัน โดยนายกที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 4 วาระขึ้นไปจะมีความเป็นมืออาชีพระดับสูง
สถาบันพระปกเกล้า