Page 42 - kpi20470
P. 42
เลือกผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชนในสภาท้องถิ่น อีกทั้งยังมี
กระบวนการตรวจสอบจากภาคประชาชนและภาคส่วนต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รายงานสถานการณ์ พัฒนาความเป็นสถาบันได้อย่างเด่นชัด
นอกจากนี้ผลการสำรวจยังเป็นสิ่งยืนยันได้อีกประการหนึ่งว่า การพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นของ
ไทยที่ผ่านมานั้นได้มุ่งเน้นระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) ซึ่งปรากฎอย่าง
เด่นชัดมากในระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม
ในการพัฒนาท้องถิ่น ผ่านการประชาคม การประชุมในระดับชุมชน กิจกรรม/โครงการพัฒนาชุมชนต่างๆ
ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการมีส่วนร่วมและเรียนรู้ประชาธิปไตยร่วมกันในระดับท้องถิ่น
ส่วนที่ 1 ประชาธิปไตยท้องถิ่น : บทสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย
5. ประชาธิปไตยท้องถิ่น : ระดับความเป็นสถาบัน
คำถามที่ผู้อ่านหลายท่านเกิดความสงสัยว่า การพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นที่ผ่านมาได้ส่งผลต่อ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างไรบ้าง? เพราะที่ผ่านมานั้นก็มีความพยายามพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น
มาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครทราบได้ว่า แล้วผลในเชิงประจักษ์จากความพยายามพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น
นั้นเกิดผลอย่างไรบ้าง ซึ่งผลการสำรวจครั้งนี้จะมีคำตอบให้กับท่านผู้อ่านทุกท่าน
การพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นไทยที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นการสร้างความเป็นสถาบันให้กับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ดังปรากฏให้เห็นจากผลการสำรวจ พบว่า ความเป็นสถาบันขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นค่อนข้างประสบผลสำเร็จอย่างมาก อีกทั้งผลการสำรวจยังได้ชี้ชัดว่า ความเป็น
สถาบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.28 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในประเด็นด้านความเป็นตัวแทนที่ค่อนข้างมีความโดดเด่น มีค่าเท่ากับ 3.39 รองลงมาคือประเด็นการส่ง
เสริมความเป็นพลเมือง มีค่าเท่ากับ 3.24 และสุดท้ายคือประเด็นความเป็นมืออาชีพที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย
น้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 3.21
คำถามต่อมาคือ แล้วองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทไหนที่มีความเป็นสถาบันสูงที่สุด? ผลการ
สำรวจพบว่า เทศบาลนครมีค่าคะแนนเฉลี่ยความเป็นสถาบันสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 3.57 รองลงมาคือ
องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีค่าเท่ากับ 3.36 ถัดมาคือเทศบาลเมือง มีค่าเท่ากับ 3.32 ส่วนเทศบาลตำบล
นั้นมีค่าเฉลี่ยรองลงมา มีค่าเท่ากับ 3.30 และสุดท้ายคือองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีความเป็นสถาบัน
น้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 3.27 ตามลำดับ
จากผลสำรวจดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นว่า ที่ผ่านมานั้นเรามุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นสถาบันของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ผ่านการเลือกตั้งผู้แทนและระบบการเมืองท้องถิ่น เช่น การเลือกตั้ง
ผู้บริหารท้องถิ่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น การเข้าไปทำหน้าที่ของผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น
แทนประชาชน หรือแม้กระทั่งการทำหน้าที่ตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น จึงส่งผลให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นสถาบันสูง ทั้งในด้านการพัฒนาความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารท้องถิ่น
การมุ่งส่งเสริมความเป็นตัวแทนของประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับท้องถิ่น
ผลที่ตามจึงทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความโดดเด่นอย่างมากในการพัฒนาความเป็นสถาบัน
30 สถาบันพระปกเกล้า