Page 44 - kpi20470
P. 44

สิ่งที่น่าสนใจ... ที่ค้นพบจากการสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นในมิติความเป็นสถาบัน
                     มี 3 ประการ คือ
            รายงานสถานการณ์   5.1  ความเป็นท้องถิ่น 4.0




                          ทุกวันนี้เราเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสื่อสารกับประชาชนอย่างไร? ยังคงใช้
                     การสื่อสารแบบเก่าอยู่หรือไม่? คำตอบก็คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกวันนี้เปลี่ยนไปแล้ว!
                     ท่ามกลางการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นมาจุดเปลี่ยนสำคัญในการสื่อสารระหว่างองค์กร

                     ปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่การสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการภาครัฐ
                     การสร้างโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนช่องทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทำงาน
            ส่วนที่ 1 ประชาธิปไตยท้องถิ่น : บทสำรวจความเป็นประชาธิปไตยท้องถิ่นไทย
                     ใกล้ชิดกับประชาชนและชุมชนมากขึ้น

                          ในอดีต... องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนิยมใช้การสื่อสารแบบเก่า หรือที่เรียกว่า “การสื่อสารแบบ

                     ไม่ใช้ดิจิทัล (non-digital innovation)” ซึ่งจะพบเห็นตั้งแต่ในยุคแรกเริ่มที่การพัฒนาเทคโนโลยียังไม่มี
                     ความก้าวหน้าและทันสมัยมากนัก ทำให้การสื่อสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปยังประชาชน จึงนิยม
                     ใช้การลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับประชาชน การส่งข้อมูลข่าวสารผ่านผู้นำชุมชน การลงไปประชาคมตามชุมชน

                     ต่างๆ และการส่งหนังสือราชการแจ้งไปยังชุมชน เพราะเป็นช่องทางที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ
                     เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด


                          ต่อมา... การพัฒนาเทคโนโลยีเริ่มมีความก้าวหน้ามากขึ้น มีการพัฒนาระบบคลื่นความถี่ การส่ง
                     สัญญาณและสื่อสารต่างๆ มากขึ้น เช่น โทรศัพท์ การสื่อสารผ่านคลื่นความถี่ต่างๆ เราจึงเห็นการสื่อสารของ

                     องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคนี้นิยมใช้การสื่อสารโทรศัพท์ เสียงตามสาย หอกระจายข่าว รถกระจาย
                     เสียง หรือช่องวิทยุชุมชน มาใช้สื่อสารกับประชาชน ขณะเดียวกันก็ยังคงใช้รูปแบบการสื่อสารแบบเก่าด้วย

                          ปัจจุบัน... เทคโนโลยีการสื่อสารมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาช่องทางการสื่อสารแบบ

                     ใหม่ขึ้นมา หรือที่เรียกว่า “การสื่อสารแบบใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (digital innovation)” ซึ่งผลจาก
                     การสำรวจพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่มีแนวโน้มนิยมใช้การสื่อสารแบบใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
                     ในสัดส่วนที่มากกว่าการสื่อสารแบบไม่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                     ขนาดใหญ่ ได้แก่ อบจ. และเทศบาลนคร ที่มีสัดส่วนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในหลายประเภท เช่น
                     Facebook, line, e-mail มาใช้ในการสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่น เพราะการใช้

                     เทคโนโลยีดิจิทัลได้ทำให้เสียงของประชาชนในท้องถิ่นมีความสำคัญมากขึ้นในระบอบประชาธิปไตย
                     เปิดกว้างให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงสิทธิและโอกาสในการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย
                     ท้องถิ่นได้อย่างเท่าเทียมกัน จึงทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นอาศัยช่องทาง

                     การสื่อสารดังกล่าวมาใช้สนับสนุนในการสื่อสารกับประชาชนมากขึ้น

                          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 แล้ว แต่การสื่อสารระหว่างองค์กร

                     ปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชนก็ยังคงอาศัยการบูรณาการร่วมกันระหว่างการใช้เทคโนโลยีสื่อสารแบบ
                     เก่ากับแบบใหม่ เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองและโอกาสในการเข้าถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่าง

                     แท้จริง





                 32   สถาบันพระปกเกล้า
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49