Page 428 - kpi19912
P. 428

มากขึ้น  ดังนั้นจึงควรใช้การประชาเสวนาหาทางออก เป็นการใช้รูปแบบประชาธิปไตยแบบ
                   ปรึกษาหารือ (Deliberative  democracy) ที่ใช้หลักการให้เหตุผล (reasoning)ระหว่างบุคคลและ

                   หลักการกระท าที่เปิดเผยและเป็นสาธารณะ (public act) จึงเป็นการสร้างกระบวนการปรึกษาหารือ
                   สาธารณะ ได้แก่ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยเหตุผล ประชาชนที่เข้าร่วมต้องมีใจที่เปิดกว้าง
                   ยอมรับกันด้วยเหตุผล แม้จะไม่เห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ แต่จะร่วมรับรองทางเลือกหรือ ทางออก
                   ของปัญหาด้วยความชอบธรรมของเหตุผล

                           3. การใช้กระบวนการทางนิติบัญญัติเพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง บางกรณีพิพาทเกิดจากปัญหา
                   ข้อกฎหมายที่อาจจะล้าสมัย หรือ กฎหมายยังไม่ได้ก าหนด หรือกฎหมายที่มีอยู่เดิมออกมาแล้วเกิด
                   ปัญหาความขัดแย้ง ข้อกฎหมายที่เคร่งครัด หรือ กฎหมายระหว่างประเทศ น ามาใช้แล้วเกิดปัญหา

                   เช่น IUU เหมืองแร่ทองมีการใช้หลายกฎหมาย เช่น กฎหมายป่าสงวน ออกมาภายหลังจากที่คนเข้า
                   ไปอาศัยในป่า เป็นเวลานานหลายสิบปีแต่ภายหลังกฎหมายออกมาครอบคลุมพื่นที่ โดยไม่ดูว่ามี
                   ประชาชนอยู่ตรงไหน
                          4. การฟ้องร้องกัน ในหลายกรณีที่ความขัดแย้งนั้นการเจรจไากันเอง หรือแม้กระทั่งการใช้
                   คนกลางไม่สัมฤทธ์ผล จึงต้องใช้การฟ้องร้องกัน โดยเฉพาะการฟ้องศาลปกครองซึ่งต้องใช้ระยะเวลา

                   ยาวนานและจบลงด้วย “ผู้แพ้-ผู้ชนะ”  เช่น คดีบ่อขยะแพรกษา ที่ชาวบ้านซึ่งได้รับผลกระทบ
                   รวมตัวกันยื่นฟ้องเอกชนและอบต.แพรกษา มีส านวนคดีเข้าสู่การพิจารณาแผนกคดีสิ่งแวดล้อมใน
                   ศาลแพ่งรวม 13  คดี มีโจทก์รวมทั้งสิ้น 2,349  คน ซึ่งในจ านวนนั้นมีคดีรับโอนมาจากศาลจังหวัด

                   สมุทรปราการด้วย 10  คดี ขณะที่ต่อมาได้ถอนฟ้อง อบต.แพรกษา จ าเลยที่ 4  เพื่อไปแยกฟ้องคดีที่
                   ศาลปกครอง ขณะที่คดีของเอกชนในแผนกคดีสิ่งแวดล้อมของศาลแพ่งได้ด าเนินกระบวนการไกล่
                   เกลี่ย โดยให้ชาวบ้านที่เป็นโจทก์ได้รับการบรรเทาผลเสียหาย รายละ 3,000 บาท.


                   6. แผนที่ความขัดแย้ง (Conflict mapping framework)
                          ผู้ศึกษาได้ท าแผนที่ความขัดแย้งเพื่อวิเคราะห์ผุ้มีส่วนได้เสียและความต้องการอันจะน าไปสู่

                   การช่วยหาหนทางในการประสานความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการความขัดแย้ง ดังภาพ



















                                                           423
   423   424   425   426   427   428   429   430   431   432   433