Page 431 - kpi19912
P. 431
4. การขับเคลื่อนจัดการประเด็นปัญหา นั้น มีวิธีการ ได้แก่
4.1 ภาครัฐควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหา
ความขัดแย้งและลดความขัดแย้งร่วมกันค้นหาประเด็นปัญหาและร่วมกันหาทางออกที่ยอมรับกันได้
หลักการมีส่วนร่วม เป็นข้อหนึ่งที่ส าคัญของ ธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งในการด าเนิน
โครงการใดของภาครัฐที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน ควรต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุก
ขั้นตอนตั้งแต่ระดับต่ าสุดไปหาสูงสุด ได้แก่ ระดับการให้ข้อมูล ซึ่งเป็นระดับต่ าสุด ในฐานะเป็นการให้
ประชาชนร่วมรับรู้โครงการฯ ระดับการเปิดรับความคิดเห็นของประชาชน ระดับการปรึกษาหารือ
ระดับการวางแผนร่วมกัน ระดับการร่วมปฏิบัติ ระดับการร่วมติดตามตรวจสอบและประเมินผล และ
ระดับการควบคุมโดยประชาชน (สถาบันพระปกเกล้า, 2552: 21 -24) ดังนั้น ภาครัฐควรจัดหา
วิธีการให้เกิดการมีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการ ได้แก่ การพูดคุยแบบไม่เป็นทางการเพื่อรับฟัง
กัน การจัดเวทีสานเสวนาหาทางออก การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยใน
การเผยแพร่ข้อมูลและการรวบรวมความคิดเห็น การใช้กลไกทางกฎหมายก าหนดการร่วมมือของทุก
ภาคส่วน เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องมีความจริงใจในการแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลผลดีและผลกระทบของ
โครงการที่จะท าเพื่อหาทางป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
4.2 การจัดระเบียบสังคม หรือ การท าข้อตกลงร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เช่น
กรณีความขัดแย้งจากการสร้างนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ความขัดแย้งลดลงได้ระดับหนึ่งมาจาก
การเจรจาและมีข้อตกลง โดยทางนิคมฯ ได้มีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดสภาพอากาศ ซึ่งหากค่าเกิน
มาตรฐานก็จะด าเนินการแก้ไขโดยทันที หรือ กรณีปัญหาฝุ่นที่เกิดจากโรงงานในอ่างทอง ทางโรงงาน
ได้มีการจัดบุคลากรไปเก็บค่าฝุ่นในทุกบ้านเพื่อมาตรวจสอบ โดยหากพบว่า บ้านใดมีปริมาณค่าฝุ่น
เกินมาตรฐานก็จะท าการแก้ไข หรือ ชดเชย เป็นเงิน หรือ สิ่งของตามที่ประชาชนต้องการ
4.3 การสนับสนุนบูรณาการจัดการความขัดแย้งและพื้นที่อย่างเป็นระบบ เช่น การมีองค์กร
ที่เป็นกลางมาร่วมรับฟังปัญหาความขัดแย้งและการขับเคลื่อนความขัดแย้งสู่สันติภาพ โดยองค์กรที่
เป็นกลางนี้ต้องเป็นทีมที่มีศักยภาพ มีเอกภาพและเอกเทศ รวมทั้งมีความรู้และทักษะในการเจรจา
ไกล่เกลี่ย มีการใช้การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent communication)
4.4 ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัด
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ การตระหนักถึงการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์และ
สันติภาพ
4.5 การศึกษาวิจัยชุมชนและน าข้อมูลผลการวิจัยมาให้เพื่อให้ทุกภภาคส่วนได้รับรู้ เช่น การ
จัดท าโครงการของภาครัฐนั้นที่ว่าพัฒนานั้นเหมาะสม หรือประสบผลส าเร็จเกิดการพัฒนาหรือไม่
อย่างไร เช่น การศึกษาเรื่องเกษตรอินทรีย์ หากพื้นที่นั้นเหมาะสมกับการท าเกษตรสมบูรณ์ เกษตรกร
มีรายได้ ชุมชนพึ่งตนเองได้ ดังนั้น ภาครัฐไม่ควรที่จะมีโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นพิษ
ภัยต่อพื้นที่เกษตร
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัย
1.การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพของประเด็นความขัดแย้งของแต่ละจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง จะช่วย
ท าให้เข้าใจถึงความเป็นมาและสถานการณ์ความขัดแย้ง สาเหตุของปัญหา ผลกระทบ รูปแบบ
กระบวนการจัดการความขัดแย้ง และกลยุทธ์ เช่น กรณีการจะสร้างโรงไฟฟ้าซับบิทูมินัส จ.อ่างทอง
เพิ่มขึ้นอีก ทั้งที่โรงงานไทยเรยอน ยังไม่สามารถถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านต้องทุกข์ทนกับกลิ่น
เหม็นเป็นเวลานานนับ 40 ปี
426