Page 201 - kpi19910
P. 201
191
แก้ไขปัญหาจากประชาชน มิฉะนั้น ผู้มีอ านาจเหล่านี้อาจได้รับผลกระทบจากสังคมในการไม่ให้
ความส าคัญ หรือไม่ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาคนที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการภาครัฐ
3) การท าเวทีประชาพิจารณ์ เพื่อการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เวทีนี้เป็นเวทีแสดง
ความคิดเห็นให้ข้อมูลที่อาจไม่รู้ไม่ทราบ แต่บ่อยครั้งในโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐกลับพบว่า
เวทีรับฟังความคิดเห็นจัดขึ้นเพื่อกล่าวอ้างถึงความถูกต้องในการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับ
โครงการที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบ แต่แท้จริงชาวบ้านไปเข้าร่วม แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นอะไร
มากนัก กลับกลายเป็นเวทีของเจ้าของโครงการมาให้ข้อมูลความจ าเป็นในการด าเนินโครงการนั้น เพื่อ
ได้จัดท ารายงานศึกษาผลกระทบว่ามีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ซึ่งบ้างโครงการชาวบ้านไม่ทราบ
เลยว่ามีเวทีดังกล่าว นี่เองแทนที่จะเป็นเวทีต่างให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ แต่ไม่ได้ข้อมูลที่เป็นจริง ในพื้นที่
ภาคใต้เวทีรับฟังความคิดเห็นมีทั้งที่ประสบความส าเร็จและความล้มเหลว แต่อย่างไรก็ตาม ท าให้ทั้ง
ภาครัฐและประชาชนตื่นตัวในการเข้าร่วมเพื่อให้ข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน
4) การใช้คนกลางเพื่อการแก้ไขปัญหา คนกลางในพื้นที่ภาคใต้ที่พบและมีบทบาทใน
พื้นที่ คือ นักการเมืองท้องถิ่น เป็นคนกลางพูดคุย ช่วยคิด ยื่นแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหา
โดยเฉพาะปัญหาพื้นที่ท ากินทับซ้อนในพื้นที่อุทยาน ซึ่งความขัดแย้งที่ท ากินปรากฏค่อนข้ามาก
เนื่องจากมีการประกาศพื้นที่อุทยานหลังจากชาวบ้านเข้าท ากินมานาน เมื่อเป็นเช่นนี้การแก้ไขปัญหา
จึงต้องใช้วิธีการเยียวยาความเสียหาย ความสูญเสียทางจิตใจที่อยู่ท ากินในพื้นที่มายาวนาน มีทั้งผู้ที่
ยินยอมและไม่ยินยอมจนน าไปสู่การฟ้องร้อง
5) การใช้กระบวนการวิจัยเพื่อการแก้ไขความขัดแย้ง กระบวนการวิจัยก่อให้เกิด
ความส าเร็จและสามารถใช้เป็นต้นแบบความส าเร็จในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาครัฐและ
ประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม โครงการดังกล่าวนี้เป็นโครงการพื้นที่ลุ่มน้ าปากผนัง จังหวัด
นครศรีธรรมราช แต่สิ่งที่ส าคัญในกระบวนการวิจัยจะประสบความส าเร็จได้นั้นต้องอาศัยความตั้งใจ
จริงจัง ความร่วมมือเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน ให้ความส าคัญกับการค้นหา สืบสอบ
ข้อมูล พูดคุย แสดงความคิดเห็นร่วมกันจากทุกภาคส่วน อาศัยผู้มีความรู้นักวิชาการร่วมคิด แก้ไข
ปัญหาร่วมกันบนฐานทรัพยากรของข้อมูลที่เป็นความจริง
6) การใช้กระบวนการยุติธรรมตัดสิน โดยวิธีการฟ้องร้อง พื้นที่ภาคใต้มีการใช้
กระบวนการยุติธรรมโดยฟ้องร้องให้ศาลตัดสินคดีความที่มีการฟ้องร้อง การฟ้องร้องต่าง ๆ นี้ไม่ได้
สิ้นสุดในระยะเวลาอันใกล้ ที่ผ่านมาเหตุการณ์ที่เกิดการฟ้องร้องกันกว่าจะมีการตัดสินในแต่ละศาล
ต้องใช้เวลายาวนาน แต่ทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะให้มีการฟ้องร้อง เพราะถือว่ากระบวนการยุติธรรมมี
ความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อฝ่ายใดถูกตัดสินให้ถูก จะถือว่าผลการตัดสินนั้นเป็นการประกาศชัยชนะของตนที่
เป็นฝ่ายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งจะมีการออกสื่ออย่างแพร่หลายเพื่อเป็นการประกาศถึงความถูกต้องที่ได้
ด าเนินการเรื่องนี้จนกระทั่งน าไปสู่การฟ้องร้องในที่สุด
สรุปได้ว่า กระบวนการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้อันเกิดขึ้นจากแนวนโยบาย
ของรัฐนั้นส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนของโครงการอย่างมากมาย ตั้งแต่โครงการยังไม่เกิดขึ้นก็สามารถ
ท าให้เกิดผลกระทบทางจิตใจ กังวลใจต่อการเกิดขึ้นของโครงการตามนโยบายของรัฐ ซึ่งโครงการใน
ภาคใต้เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคใต้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ผ่านการพิจารณาและ
วางแผนไว้ในแผนพัฒนาชาติ และแผนการพัฒนาของจังหวัดที่ก าหนดไว้ ซึ่งการที่ประชาชนในพื้นที่จะ