Page 198 - kpi19910
P. 198
บทที่ 5
บทสรุป บทวิเคราะห์ และข้อเสนอแนะ
โครงการวิจัย การส ารวจข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตาม
แนวนโยบายของรัฐ (Conflict Mapping Phase 2) ภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส ารวจและรวบรวม
ข้อมูลสถานการณ์และสาเหตุความขัดแย้งโดยเน้นในด้านของความขัดแย้งอันเนื่องมาจากโครงการที่
เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้ และศึกษาแนวทางบริหารความขัดแย้งของโครงการที่
เกิดขึ้นตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้ จ านวน 11 จังหวัด โครงการในพื้นที่ จ านวน 55
โครงการ โดยในบทนี้น าเสนอข้อมูลเพื่อการน าไปใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาครัฐและ
ประชาชนตามบริบทโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ดังต่อไปนี้
5.1 บทสรุปโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐพื้นที่ภาคใต้
5.2 บทวิเคราะห์เชิงสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคใต้
5.3 ข้อเสนอแนะเพื่อการขับเคลื่อนการแก้ไขความขัดแย้งตามแนวนโยบายภาครัฐพื้นที่
ภาคใต้
5.1 บทสรุปโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐพื้นที่ภาคใต้
5.1.1 รูปแบบโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐ
ผลการศึกษาพบว่า ประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบาย
ของรัฐ ภาคใต้โครงการตามแนวนโยบายภาครัฐเป็นโครงการเพื่อการพัฒนาภาคใต้ และส่วนใหญ่เป็น
ประเภทโครงการความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาพื้นที่ ภูมิภาค และ
ประเทศในด้านทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีความส าคัญในการร่วมลงทุน
กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย เพื่อการขับเคลื่อนเรื่องพลังงานทดแทนในพื้นที่ภาคใต้ได้อย่าง
เพียงพอ
5.1.2 สาเหตุความขัดแย้งจากโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐ
โดยส่วนใหญ่โครงการมาจากการก าหนดจากส่วนกลางเป็นหลัก และที่มีความชัดเจน
มากที่สุดส าหรับภาคใต้ คือ โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่
งบประมาณมหาศาล แต่ขาดการสื่อสารข้อมูลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการสื่อสารเพื่อเกิดความเข้าใจ ไม่หวาดระแวง เชื่อถือและไว้วางใจต่อกัน
5.2 บทวิเคราะห์เชิงเชิงสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคใต้
บทวิเคราะห์เชิงเชิงสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งแตกต่างไปจากภูมิภาคอื่น ๆ ของไทย
เนื่องจากคุณลักษณะของผู้คน สังคมและวัฒนธรรมในภาคใต้ในการรับรู้ของผู้คนทั่วไปมักจะมี
ภาพลักษณ์ว่าคนใต้เป็นคนหัวแข็ง ดุดัน สอดคล้องกับการศึกษาของ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (2544)
สะท้อนบุคลิกภาพและตัวตนท าให้คนต่างกลุ่มต่างวัฒนธรรมมีความรู้สึกในแง่ลบว่า คนใต้เป็นคนที่แข็ง