Page 200 - kpi19910
P. 200
190
แต่ได้มีการท าลายและแย่งชิงพื้นที่สาธารณะที่ส าคัญของชุมชน เช่น ป่า ดิน น้ า ที่ดินท ากิน ซึ่งเป็น
แหล่งทรัพยากรพึ่งพิงส าคัญที่จะท าให้สภาพการด ารงชีวิตของชาวบ้านด ารงอยู่ได้ เพราะสภาพการ
ด ารงชีวิตของชาวบ้านต้องอาศัยพื้นที่สาธารณะเหล่านี้ เมื่อมีความเดือดร้อนเกิดขึ้นชาวบ้านได้รวมตัว
ตอบโต้ในลักษณะต่าง ๆ มีการเผชิญหน้ากันด้วยความรุนแรงและเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อเรื้อรัง รัฐได้ใช้
กลไกทางราชการควบคุมลงไปบนชุมชน เช่น กลไกด้านความมั่นคง ด้านการปกครองในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อควบคุม และปราบปรามการเคลื่อนไหวของประชาชนก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงเพื่อให้
การพัฒนาโดยรัฐด าเนินต่อไป
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า โครงการตามแนวนโยบายภาครัฐเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนาภาคใต้ ซึ่งมีบรรจุไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด ซึงโครงการเหล่านี้เป็นโครงการรูปแบบโครงสร้าง
พื้นฐาน และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม้ว่าหลายโครงการไม่ได้รับการยอมรับจากชาวบ้าน
ในพื้นที่จะได้มีการชะลอโครงการ หรือระงับโครงการเหล่านั้นไป แต่ในที่สุดจะพบว่า โครงการเหล่านั้น
จะกลับมาถูกพูดถึงและบรรจุไว้ในการพัฒนาจังหวัด หรือการหลีกเลี่ยงการน าเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
กับเรื่องเดิมเพื่อไม่ก่อให้เกิดการคัดค้านขึ้นมาอีก
5.2.2 กระบวนการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้
การเกิดขึ้นของกระบวนการความขัดแย้งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกกรณี แต่โดยความ
ขัดแย้งที่มาจากภาครัฐคงต้องเป็นความขัดแย้งที่ประชาชนผู้ไร้อ านาจไม่อยากขัดแย้งด้วยอย่างแน่นอน
เพราะคิดว่าคงไม่มีอ านาจในการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่รัฐคิดและตัดสินใจกระท า เพราะรัฐมี
แหล่งทรัพยากรมากมายที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจ และคงเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องและมีข้อมูล
ประกอบการตัดสินใจเพื่อด าเนินการอย่างรอบด้านแล้ว แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น โครงการ
ตามแนวนโยบายภาครัฐ ที่เรารู้จักกันดีว่า “เม็กกะโปรเจ็ค” เป็นโครงการที่ที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
แต่เมื่อชาวบ้านในพื้นที่รู้เรื่องกลับต่อต้านคัดค้านทั้งในระดับไม่มีความเสียหาย มีความเสียหาย และ
ไปสู่ความรุนแรง เกิดความเสียหายทั้งร่างกายและทรัพย์สิน แต่ชาวบ้านยังไม่ยอมถอยจนกว่าภาครัฐ
จะยอมถอย หรือยกเลิกโครงการ จึงท าให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่อยมา ซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น
ได้มีความพยายามจัดการให้คลี่คลายลงด้วยกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ทั้งกระบวนการในระดับเบา
ไปจนถึงกระบวนการที่ต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมเข้าตัดสิน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้นั้นมี
กระบวนการจัดการความขัดแย้งดังนี้
1) กระบวนการพูดคุย เจราจา ด้วยสันติ ลักษณะดังกล่าวนี้ที่พบปรากฏในพื้นที่อาจ
ไม่ใหญ่มากนัก การรับรู้ของสังคมอาจไม่มากนัก รวมถึงปัญหาเฉพาะพื้นที่ และเป็นโครงการที่เพิ่ง
เริ่มต้น อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่จะพบว่า การพูดคุย เจรจาเป็นการรับ
ฟัง และพูดคุยระหว่างกันได้ แต่หน่วยงานภาครัฐจะให้ข้อมูลว่าไม่มีอ านาจเพื่อการตัดสินใจยุติ
โครงการชั่วคราว หรือยกเลิกโครงการแต่สามารถน าข้อทุกข์ร้อนของชาวบ้านที่พูดคุยจัดท ารายงาน
เสนอต่อรัฐบาลต่อไป
2) การยื่นหนังสือต่อผู้มีอ านาจ การใช้วิธีการดังกล่าวนี้มาจากชาวบ้านรวมกลุ่มเพื่อ
ร่วมคัดค้าน จากที่เคยขึ้นป้าย หรือรวมกลุ่มชุมนุมคัดค้าน แต่ในเมื่อการคัดค้านยังไม่ได้รับการแก้ไข
ปัญหา จึงอาศัยการยื่นหนังสือต่อผู้มีอ านาจภาครัฐ เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด
นายอ าเภอ เมื่อเป็นเช่นนี้จะเป็นข่าวออกสื่อไปทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างกระแสให้เกิดการ