Page 199 - kpi19910
P. 199
189
กระด้าง หัวหมอ ขาดคารวะธรรม หยิ่ง ดุ ดื้อรั้น ปกครองยาก อัตตาสูงเป็นนักเลง พูดไม่ถนอมน้ าใจ
คนอื่น ไม่เก็บกักอารมณ์ โผงผาง พูดจาขวานผ่าซาก เมื่อเกิดการเผชิญหน้ากับหมู่คณะอื่นมักออกมา
เผชิญหน้าและปกป้องกันเอง อย่างไรก็ตาม อัตลักษณ์ของคนภาคใต้นี้จะมองในแง่ลบ ซึ่ง ณฐพงศ์
จิตรนิรัตน์ (2548) มองว่าตัวคนในชุมชนท้องถิ่นภาคใต้กลับมองเห็นเป็นคุณค่าและให้ความตระหนัก
ในความเป็นตัวตนและอัตลักษณ์ดังกล่าว ขณะเดียวกันก็น าอัตลักษณ์ดังกล่าวมาต่อรอง ตอบโต้ และ
การครอบง าอัตลักษณ์จากสังคมและรัฐที่สะท้อน/แสดงและครอบง าผ่านโครงสร้างความสัมพันธ์ทาง
สังคม กลไกและสถาบันที่เป็นทางการของรัฐ ในขณะที่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นที่อยู่ของผู้คน
และวัฒนธรรมอีกชุดหนึ่งที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ของประเทศด้วย กล่าวคือ เป็นที่อยู่ของชาว
มุสลิมกลุ่มใหญ่ที่มีวิถีวัฒนธรรม และมุมมองต่อการพัฒนาที่แตกต่างจนเป็นลักษณะเฉพาะ แต่
เนื่องจากการวิเคราะห์ในงานนี้จะก าหนดการวิเคราะห์ใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย
5.2.1 อัตลักษณ์ความขัดแย้งตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้
ปัจจุบันในสังคมเกิดความขัดแย้งขึ้นมากมายทั้งในระดับบุคคล องค์กร ชุมชนและ
สังคม ทั้งในประเทศและต่างประเทศตลอดจนระหว่างประเทศ ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยง
ให้พ้นไปได้ มีความจ าเป็นต้องเผชิญหน้า และต้องหาสาเหตุ แนวทางเพื่อการแก้ไขความขัดแย้งที่
เกิดขึ้นให้บรรเทา ลดน้อย หรือหมดไป ซึ่งต้องให้ความส าคัญต่อการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อ
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงโอกาสของประชาชนมีน้อยมากหรือไม่มีเลย
และการมีส่วนร่วมที่รู้จักกันดีและประชาชนในชุมชนได้เข้าร่วม คือ เวทีประชาพิจารณ์ ซึ่งเป็นการ
สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในกระบวนการตอนท้ายของกระบวนการเพื่อการพัฒนาที่มาจากโครงการ
ภาครัฐ โดยภาครัฐได้สร้างให้มีกระบวนการเพื่อการวิเคราะห์ผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่
ชุมชนด าเนินโครงการของภาครัฐ ท าให้เห็นได้ว่า โอกาสของประชาชนในการมีส่วนร่วมแสดงความ
คิดเห็นด้วยการให้ข้อมูล การพุดคุยด้วยความกังวลใจว่าจะเกิดปัญหากับคนในชุมชนค่อนข้างมีน้อย
มาก บางครั้งการมีส่วนร่วมนั้นเป็นไปตามกระบวนการของภาครัฐที่ร่วมให้มีการสร้างการมีส่วนร่วม
แต่ไม่ให้ความสนใจ ความส าคัญกับข้อมูล ความกังวลใจของภาคประชาชนอย่างจริงจัง สร้าง
กระบวนการมีส่วนร่วมและน าไปประชาสัมพันธ์ว่าได้เกิดการสร้างความเข้าใจร่วมกันแล้ว และสามารถ
ด าเนินโครงการตามแนวนโยบายภาครัฐได้โดยไม่เกิดปัญหาใด ๆ
จากสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นท าให้เห็นได้ว่า การเกิดปัญหาที่เกิดขึ้นมาจาก
โครงการตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่ภาคใต้เป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานหลายยุคหลายสมัย
ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ าในสังคม ความขัดแย้งที่มาจากโครงการตามแนวนโยบายของรัฐในพื้นที่
ภาคใต้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่ด าเนินโครงการ เช่น โครงการสร้างเขื่อนท่าแซะ
จังหวัดชุมพร โครงการอ่างเก็บน้ าอ่าวใหญ่พร้อมระบบระบายน้ าฯ จังหวัดระนอง และ โครงการท่อส่ง
ก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย จังหวัดสงขลา เป็นต้น การด าเนินโครงการภาครัฐใน
พื้นที่ภาคใต้มีการด าเนินโครงการที่ก่อเกิดให้มีประเด็นการศึกษาพื้นที่อย่างน่าสนใจในการด าเนิน
โครงการที่มาจากภาครัฐต้องการ แต่คนในพื้นที่ไม่ต้องการ ท าให้เกิดประเด็นปัญหาความขัดแย้ง ซึ่ง
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการพัฒนาได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นอย่างรุนแรงใน
ระดับชาวบ้านที่เป็นคนจนไม่สามารถยังชีพอยู่ได้ โครงการขนาดใหญ่ที่มีการอพยพคนออกจากพื้นที่ท า
กินได้ก่อให้เกิดการท าลายชุมชน หรือแม้แต่ส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการอพยพก็ตาม