Page 596 - kpi17073
P. 596
ดุลอำนาจรัฐ ท้องถิ่น และประชาชน :
การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น
นายทนงศักดิ์ ทวีทอง*
ผมเองเป็นผู้ซึ่งทำงานท้องถิ่นมานานมากพอสมควร ซึ่งที่คุณสวิงได้เสนอนั้น
เป็นแนวคิดเป็นหลักคิดที่น่าสนใจ น่าติดตาม และเชื่อว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่จะปฏิบัติ
ตามก็มาจากนักคิดทั้งหลายที่ได้ช่วยกันคิดเป็นแนวทางให้ผู้ที่อยู่ในองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นได้ปฏิบัติ เป็นเรื่องที่แปลกที่เชียงใหม่ ได้คิดในเรื่องจังหวัด
ปกครองตนเองอย่างเข้มข้น และมาที่ระยอง ทางภาคอีสานบางจังหวัด ภาคใต้
ค่อนข้างเงียบในเรื่องนี้ ซึ่งพวกเราได้พยายามติดตามสนใจ แต่ยังไม่มีคนที่จะมา
เป็นหลักในเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่แปลกอีกเรื่องหนึ่ง ตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 40
มาจนถึงปี 50 โดยเฉพาะแผนกระจายอำนาจ เรามี พ.ร.บ.กำหนดแผนและ
ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. 2542 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ
ท้องถิ่นมากมาย แต่ปรากฏว่า ในทางกลับกัน มีการสวนทางในเรื่องที่ควรจะ
เป็นไปมากพอสมควร ตั้งแต่หลังจากปี 43 ปี 44 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
ในเรื่องของการพัฒนาประเทศ ทำให้ส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคเข้มแข็งขึ้นมา
ในช่วงแรกท้องถิ่นมีแนวโน้มขึ้นไปสักระยะหนึ่ง แต่ช่วงหลังเหมือนกับวูบลงมา
ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีที่เก่งสามารถคิดค้นในเรื่องต่างๆ ได้ทำให้เกิด
แนวคิดนโยบายที่เกิดขึ้นเสมือนว่ารัฐบาลประสบความสำเร็จในเรื่องที่คิด
ขึ้นมาทำให้ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งคงทราบดีว่าเป็นเรื่องโครงการนโยบาย
ประชานิยมทำให้พรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งในขณะเดียวกันพรรคหลายๆ
พรรค ได้คิดในเรื่องที่จะทำให้ชาวบ้านได้เข้าเทคะแนน ก็ได้คิดถึงโครงการ
ประชานิยมกันใหญ่ โดยเฉพาะผลกระทบต่อส่วนท้องถิ่นที่มีงบประมาณ
จำกัดก็โดนกระทบในเรื่องราวเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรียนฟรี อ.ส.ม.
* นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี