Page 401 - kpi16531
P. 401
3 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
. วิเคราะห์แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ
. .1 ข้อเสนอแนะเชิงหลักการ
ในปัจจุบันนี้ความสามารถในการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นอยู่กับประเภทของ
ท้องถิ่นกล่าวคือ การที่ท้องถิ่นประเภทไหนจะสามารถกู้ยืมเงินได้ต้องมีระเบียบของกระทรวง
มหาดไทยรองรับ ซึ่งปัจจุบันนี้อนุญาตให้เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และ
เมืองพัทยาเท่านั้นที่สามารถกู้ยืมเงินได้ ซึ่งไม่ได้หมายรวมถึงองค์การบริหารส่วนตำบล แต่ในความ
เป็นจริงแล้วการอนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไหนกู้ยืมเงินควรพิจารณาดูที่ความสามารถ
ในการกู้ยืมและความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยมากกว่าจำกัดการกู้ยืมจากประเภท
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะฉะนั้นผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเชิงหลักการ ดังต่อไปนี้
= การกู้ยืมเงินควรพิจารณาจากความสามารถในการชำระคืนและความสามารถ
ทางการคลังมากกว่าจำกัดการกู้ยืมจากประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กล่าวคือ การอนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ยืมเงินควรพิจารณาจากความสามารถ
ทางการคลัง และความสามารถในการบริหารหนี้มากกว่าจำกัดการกู้ยืมจากประเภทของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะฉะนั้นผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเชิงหลักการว่า การ
พิจารณาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้เงินให้พิจารณาจากสถานะทางการคลังของท้องถิ่น
จำนวนเงินกู้ โครงการที่กู้ยืมเงิน และความสามารถในการชำระคืน โดยไม่ควรใช้ประเภท
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นปัจจัยกำหนดว่าท้องถิ่นแห่งใดสามารถกู้ยืมเงินได้
= สร้างค่านิยม ว่า “การก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรอยู่บนฐานของความคุ้มค่า
ผลตอบแทน และผลประโยชน์ที่จะได้รับ” โดยการก่อหนี้ควรมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการ
ลงทุน ที่อาจต้องการเงินลงทุนขนาดใหญ่ ที่รอการสะสมเงินทุนอย่างเดียวอาจช้าเกินไป
(ศุภชัย ศรีสุชาติ, 2558) เนื่องจากการก่อหนี้ก่อให้เกิดผลผูกพันระยะยาวในการชำระคืน
เงินต้นและดอกเบี้ย ดังนั้นผู้บริหารท้องถิ่นควรมีค่านิยมในการกู้ยืมเงินที่ดี โดยเลือกลงทุน
ในโครงการที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ระยะยาว หรือมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าเพียงพอต่อการ
ชำระคืนหนี้
= การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เนื่องจากการกู้ยืมเงิน
เปรียบเสมือนการนำเงินในอนาคตมาใช้ ซึ่งผู้รับผิดชอบภาระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยก็คือ
ประชาชนผ่านการจัดเก็บภาษี โดยประชาชนควรเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้น
เพราะจะส่งผลให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงเหตุผลในการกู้ยืมเงิน และเป็นการสร้าง
ระบบการกำกับดูแลโดยประชาชนซึ่งเป็นวิธีการที่ยั่งยืนกว่าวิธีการอื่น เช่นเดียวกับ
นายกเทศมนตรีแห่งหนึ่งซึ่งได้เสนอว่า
“การออกพันธบัตร ควรเป็นพันธบัตรที่อยู่ในพื้นที่ เนื่องจากคนในพื้นที่จะเข้าใจ
มากที่สุด และจะได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในการตรวจสอบด้วย เพราะการที่ให้
ประชาชนเข้ามาถือหุ้น หรือขายหุ้นกู้ให้คนในพื้นที่ให้มาถือหุ้นกู้ในบริษัทของเรา ความ
เป็นเจ้าของในท้องถิ่นก็จะมากขึ้นด้วย เป็นช่องทางในมุมกลับก็เข้ามาตรวจสอบด้วย”