Page 396 - kpi16531
P. 396
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 3
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยสามารถแบ่งโครงการเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ (พิชิตชัย กิ่งพวง, 2556:
121-122)
< โครงการก่อสร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 4 โครงการ
เป็นเงิน 30.02 ล้านบาท
< โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงาน และอาคารต่างๆ ของหน่วยองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 6 โครงการ เป็นเงิน 59.09 ล้านบาท
< เงินกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนของสถานธนานุบาล จำนวน 4 โครงการ
เป็นเงิน 105.00 ล้านบาท
< โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ จำนวน 4 โครงการ เป็นเงิน 74.69 ล้านบาท
< โครงการสร้างบ้านแปงเมืองเชิงวิถีเมืองลับแล จำนวน 1 โครงการ
เป็นเงิน 10.00 ล้านบาท
< โครงการด้านการพาณิชย์ (โครงการสมทบซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้าง
พิพิธภัณฑ์และศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP) จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน
6.13 ล้านบาท
< โครงการเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ จำนวน 1 โครงการ เป็นเงิน
1.85 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังพบว่า เทศบาลส่วนใหญ่จะกู้เงินจากกองทุนส่งเสริมกิจการ
เทศบาล (กสท.) โดยมีดอกเบี้ยร้อยละ 3 ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจะมีการกู้เงินจาก
กองทุนเงินสะสมองค์การบริหารส่วนจังหวัด (กสอ.) นอกจากนี้ยังมีสถาบันการเงินอื่นๆ ที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์กู้เงิน คือ ธนาคารกรุงไทย จำนวน 4 โครงการ และธนาคาร
ออมสิน จำนวน 3 โครงการ และพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแนวโน้มที่จะกู้เงินจากสถาบัน
การเงินต่างๆเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการกู้ยืมเงินจากกองทุนของท้องถิ่นเอง โดยระยะเวลาการชำระ
เงินคืนเงินกู้ส่วนมากจะอยู่ในช่วง 10 และ 15 ปี (พิชิตชัย กิ่งพวง, 2556: 122)
ในส่วนของการประเมินว่ารายจ่ายเพื่อการชำระคืนหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย
ผู้ศึกษาได้ใช้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability Framework) ของรัฐบาล เกี่ยวกับ
ขนาดของรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ (Debt Service Ratio) ที่กำหนดไว้ว่าไม่ควรสูงเกินกว่าร้อยละ
15 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี (วีระศักดิ์ เครือเทพ, 2554: 78) ซึ่งพบว่าไม่มีองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นใดที่มีรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้สูงเกินกว่าร้อยละ 15 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งมีการผ่อนชำระคืนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยตรงตามระยะเวลา
ที่กำหนดไว้ (พิชิตชัย กิ่งพวง, 2556: 123)
ส่วนกรณีตัวอย่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยที่ได้รับการทักท้วงนั้น
อาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันยังไม่พบการทักท้วงเกี่ยวกับการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อย่างเป็นรูปธรรม แต่จากการศึกษาพบว่ามีเพียงลักษณะของการให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติ