Page 398 - kpi16531
P. 398
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 3 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คือ กฎหมายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ
การออกพันธบัตร ซึ่งกำหนดว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องทำตามหลักเกณฑ์ และ
แนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับหน่วยงานเอกชนอื่นที่ออกพันธบัตร กล่าวคือ ถ้าหากหน่วยงาน
เอกชนใช้งบการเงินอย่างไร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ต้องใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน แต่ใน
ความเป็นจริงแล้วงบการเงินของท้องถิ่นทำให้เป็นปัจจุบันยาก และต้องผ่านการตรวจสอบ
ของสำนักงานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้ระยะเวลานาน
โดยเจ้าหน้าที่สำนักเศรษฐกิจการคลังกรุงเทพมหานครท่านหนึ่ง ที่ได้แสดงความคิดเห็น
ไว้ว่า
“การออกพันธบัตรต้องไปปลดล็อกเรื่องกฎหมายให้เอื้ออำนวยต่อองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้นกว่านี้ไม่ใช่ทำเหมือนบริษัทซึ่งมองแล้วเป็นไปได้ค่อนข้างยาก โดย
ปัญหาที่สำคัญก็คือ กฎหมาย”
= ขั้นตอนการดำเนินงานยุ่งยากซับซ้อนและใช้งบประมาณสูง ขั้นตอนในการออก
พันธบัตรมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการกู้เงิน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมาก
ทั้งค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย และนายทะเบียน ซึ่งเป็นรายจ่ายที่เพิ่ม
ขึ้นมากกว่าการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามปกติ
. .2 วิเคราะห์สมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพนักงาน
= เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำพันธบัตรเพราะถือ
เป็นเรื่องใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย และต้องอาศัยความรู้และความเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านในการวางแผนการดำเนินงานต่างๆ จะสังเกตได้จาก กรณีของกรุงเทพมหานคร
นั้นจำเป็นที่จะต้องจ้างที่ปรึกษาเข้ามาดูแลและศึกษากระบวนการทำงานต่างๆ เพราะ
เจ้าหน้าที่ขาดประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความสามารถในการ
วิเคราะห์ การวางแผน และการดำเนินการเกี่ยวกับการออกพันธบัตรท้องถิ่น
. .3 วิเคราะห์สภาพปัญหาเจตนารมณ์ทางการเมือง
= การกู้เงินมาดำเนินโครงการเพื่อสร้างคะแนนนิยม กล่าวคือ ผู้บริหารบางแห่งใช้วิธีการ
กู้เงินมาดำเนินโครงการต่างๆจำนวนมาก เพื่อสร้างคะแนนนิยมของตน โดยละเลยถึงความ
สามารถในการชำระคืน และสถานะทางการคลังของท้องถิ่น นอกจากนี้การกู้ยืมยังก่อให้เกิด
ผลผูกพันในระยะยาวที่ต้องชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย เพราะฉะนั้นถ้าหากกู้ยืมเงินมาก
เกินไปก็จำเป็นต้องตั้งงบประมาณเพื่อชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยมากตามไปด้วย ส่งผลให้
เหลืองบประมาณไปดำเนินภารกิจหรือจัดบริการสาธารณะต่างๆน้อยลง ซึ่งจะส่งผลกระทบ
ต่อประชาชนโดยตรง
= ความสนใจของผู้บริหารท้องถิ่น จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผลสำรวจเบื้องต้นพบว่า องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ (ทุกประเภท) ขาดความสนใจหรือไม่มีมีแผนการในการกู้ยืม