Page 397 - kpi16531
P. 397
3 0 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(Approved) หรือ การไม่ให้ความเห็นชอบหรือไม่อนุมัติ (Not Approved) ให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นกู้เงิน โดยมีคณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาการกู้เงินขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น (หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.3/ว 4715 ลงวันที่ 23
พฤศจิกายน พ.ศ. 2554) และเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะให้ความเห็นชอบ
หรืออนุมัติการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกรณีที่วงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท แต่ถ้าหาก
วงเงินกู้เกิน 50 ล้านบาทอำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบและอนุมัติจะเป็นของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย (ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 64/2555 ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555)
. วิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
. .1 วิเคราะห์สภาพปัญหาทางด้านกฎหมาย
= องค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีอำนาจในการกู้เงิน เนื่องจากไม่มีระเบียบของ
กระทรวงมหาดไทยรองรับ กล่าวคือ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จะบัญญัติไว้ใน มาตรา 28
(9) และ (10) ว่าองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะมีรายรับ ดังต่อไปนี้ “เงินกู้จาก
กระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่างๆ” และ “เงินกู้จากต่างประเทศ องค์การ
ต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ” และ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การ
บริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537ใน มาตรา 83 ได้บัญญัติไว้ว่า “องค์การบริหารส่วนตำบล
อาจกู้เงินจากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่างๆ ได้ เมื่อได้รับอนุญาตจาก
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล การกู้เงินตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวง
มหาดไทย” เพราะฉะนั้นตามกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถกู้ยืมเงินได้ โดยให้
เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย แต่ในปัจจุบันนี้กระทรวงมหาดไทยออกระเบียบ
มารองรับการกู้เงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และเมืองพัทยาเท่านั้น เพราะ
ฉะนั้นในทางปฏิบัติแล้วองค์การบริหารส่วนตำบลจึงไม่สามารถกู้เงินได้เหมือนกับองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น
= การออกพันธบัตรของกรุงเทพมหานครยังมีข้อจำกัดทางด้านกฎหมายหลายประการ
ทั้งกฎหมายภายในของกรุงเทพมหานคร และกฎระเบียบในการออกพันธบัตรของหน่วยงาน
ต่างๆ กล่าวคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
กำหนดไว้ในมาตรา 117 (7) ว่ากรุงเทพมหานครอาจมีรายได้รายได้จากการจำหน่าย
พันธบัตร เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และตราเป็นข้อบัญญัติ
กรุงเทพมหานคร เพราะฉะนั้นหากกรุงเทพมหานครจะออกพันธบัตรจึงต้องได้รับความเห็น
ชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน ดังนั้นการออกพันธบัตรจึงมีขั้นตอนที่ยากลำบากกว่า กล่าวคือ
ต้องยื่นเรื่องและเสนอโครงการเพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาซึ่งต้องผ่านการพิจารณาจาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกหลายหน่วยงาน เช่น สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ดังนั้นจึงต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน อีกประการหนึ่ง