Page 403 - kpi16531
P. 403

3        นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                    = การปรับปรุงหลักเกณฑ์กลางในการกู้ยืมเงินและออกพันธบัตรท้องถิ่น ให้มีความ
                       ชัดเจน และรัดกุม อีกทั้งยังควรเป็นหลักเกณฑ์เดียวที่ครอบคลุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                       ทุกประเภท เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ง่ายต่อการบริหารจัดการ และการกำกับดูแล
                       โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติการกู้เงินต้องคำนึงถึงฐานะทางการคลังและประโยชน์
                       ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการเป็นหลักตามหลักการของการก่อหนี้สาธารณะ รวมทั้ง
                       พัฒนากลไกการกำกับดูแลการก่อหนี้ที่เหมาะสมและรัดกุม อีกทั้งยังควรมีหน่วยงานกลาง

                       ที่ดูแลเกี่ยวกับการกู้เงินและออกพันธบัตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะ แต่ใน
                       ขณะเดียวกันจะต้องไม่เป็นการควบคุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากเกินไป รวมทั้ง

                       การแก้กฎหมายหรือระเบียบต่างๆที่เคยเป็นข้อจำกัด ให้กลายเป็นกฎหมายหรือระเบียบ
                       ที่เปิดโอกาสให้สามารถกู้เงินหรือออกพันธบัตรได้ แต่อย่างไรก็ตามต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน
                       ของความโปร่งใส ความชัดเจน ถูกต้อง รัดกุม และอยู่ภายใต้กฎหมายหรือการกำกับดูและ
                       ที่เหมาะสม โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องและอาจจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขก็คือ หนังสือ

                       กระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.3/ว 4715 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.
                       2554, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และกฎหมาย

                       ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

                    = การกู้ยืมเงินภายใต้เงื่อนไข โดยมีกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลและติดตามการก่อหนี้
                       เพื่อไม่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อหนี้มากเกินไปจนกระทบต่อความมั่นคงทาง

                       การคลัง และฐานะทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากการศึกษาพบว่า
                       องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศบางแห่งมีการก่อหนี้หรือออกพันธบัตรที่ล้มเหลว
                       ส่งผลให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อฐานะทางการคลัง โดยอาจกำหนดเงื่อนไขด้วยการกำหนด
                       “เพดานในการก่อหนี้” เพื่อไม่ให้ท้องถิ่นก่อหนี้มากเงินไปจนอาจส่งผลกระทบต่อวินัย

                       ทางการคลังในอนาคต รวมทั้งการกำหนด “ประเภทโครงการที่สามารถกู้ยืมเงินไปดำเนิน
                       การ” ว่าควรเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว มีผลตอบแทนในอนาคต และ

                       สามารถจัดหางบประมาณเพื่อชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้ เช่น โครงการกิจการพาณิชย์
                       ของท้องถิ่น (Local public enterprises) การลงทุนและการปล่อยสินเชื่อ (Investments and
                       loans) โครงการฉุกเฉิน การฟื้นฟู และบรรเทาสาธารณภัย (Emergency measures,
                       recovery works and relief measures in time of disaster) และโครงการก่อสร้างสิ่งอำนวย

                       ความสะดวกสำหรับประชาชนและงานสาธารณะ เป็นต้น

                . .3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะองค์การ


                    = จัดทำ “คู่มือการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” พร้อมทั้งอบรมและให้ความรู้
                       เพื่อให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์และขั้นตอน
                       ในการกู้ยืมเงินมากขึ้น ส่วนการออกพันธบัตรของท้องถิ่นนั้นมีความซับซ้อนมากกว่าการ
                       กู้เงินจากกองทุนและสถาบันการเงินต่างๆ เพราะฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี

                       การอบรมให้ความรู้เพื่อให้ทราบถึงหลักการ วิธีการดำเนินงาน และข้อจำกัดต่างๆ
   398   399   400   401   402   403   404   405   406   407   408