Page 281 - kpi16531
P. 281
2 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การเงินแผ่นดินตามมาตรา 39 (2) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542
เราสามารถสรุปปัญหาจากกฎหมายและการตีความข้อกฎหมายได้ 6 ประการคือ
1) ข้อจำกัดในการตราข้อบัญญัติจัดตั้งกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทกำหนดให้ท้องถิ่นต้องตรา
ข้อบัญญัติเพื่อการจัดตั้งหรือดำเนินการพาณิชย์ตามที่กฎหมายกำหนด โดยฝ่ายบริหารขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเสนอข้อบัญญัติแก่สภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาและให้ความ
เห็นชอบ ซึ่งกลไกนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างการตรวจสอบถ่วงดุลให้การดำเนินการพาณิชย์ขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถตรวจสอบโดยตัวแทนของประชาชน และเพื่อตรวจสอบความจำเป็นและ
ความคุ้มค่าของการจัดตั้งหรือดำเนินการพาณิชย์ของท้องถิ่น
อย่างไรก็ตามขั้นตอนการตราข้อบัญญัติจัดตั้งกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นยังถูกกำกับดูแลจากส่วนกลาง เช่น การจัดตั้งกิจการพาณิชย์ของเทศบาล
และกรุงเทพมหานครต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตาม
มาตรา 57 ตรี ของพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 และมาตรา 93 ตามพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2528 ทำให้ส่วนกลางมีหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วย
กฎหมายและรัฐธรรมนูญของการจัดตั้งกิจการพาณิชย์ จึงทำให้การตราข้อบัญญัติจัดตั้งกิจการ
พาณิชย์ของท้องถิ่นมิได้ดำเนินการอย่างเป็นอิสระโดยนิตินัยและพฤตินัย
2) ข้อจำกัดของประเภทบริการสาธารณะในการจัดทำกิจการพาณิชย์
การดำเนินกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีข้อจำกัดในการเลือก
ประเภทการดำเนินกิจการพาณิชย์ เนื่องจากมีข้อจำกัดจากกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นและ พ.ร.บ.การกระจายอำนาจฯ พ.ศ. 2542 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถจัดบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายเท่านั้น จึงทำให้ท้องถิ่น
ไม่สามารถดำเนินกิจการพาณิชย์ที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดและทำให้
บริการสาธารณะบางประเภทที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสงค์หรือมีศักยภาพจะ
ดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนไม่สามารถทำได้ เช่น การไม่อนุญาต
ให้เทศบาลตำบล สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด เพราะพระราชบัญญัติ
เทศบาล พ.ศ. 2496 อนุญาตเฉพาะเทศบาลนครและเทศบาลเมืองทั้งที่เทศบาลตำบลต้องเผชิญ
ปัญหาความแออัดและความเป็นชุมชนเมือง เป็นต้น
8
นอกจากนี้การนิยามให้กิจการพาณิชย์สามารถดำเนินบริการสาธารณะประเภท
“สาธารณูปโภค” เช่น พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2494 ในมาตรา 57 ตรี กำหนดให้เทศบาล
สามารถดำเนินกิจพาณิชย์ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการค้าขายเกี่ยวกับ “สาธารณูปโภค” และ
8 ข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนากลุ่มย่อยเมื่อวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557