Page 280 - kpi16531
P. 280

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     2 3
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                 3.  สภาพปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินกิจการพาณิชย์

                 และกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย



                       ในส่วนนี้ผู้วิจัยจะศึกษา 1). ข้อจำกัดจากกฎหมายและการตีความข้อกฎหมายเกี่ยวกับกิจการ
                 พาณิชย์ ซึ่งข้อกฎหมายจำนวนมากและการตีความข้อกฎหมายกลับเป็นอุปสรรคต่อการดำเนิน
                 กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม 2). ศักยภาพการดำเนินกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม

                 โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ตัวท้องถิ่นเองยังขาดศักยภาพขององค์กรในการดำเนินงานอย่างมี
                 ประสิทธิภาพและวิสัยทัศน์ และ 3). ข้อจำกัดจากเจตนารมณ์ทางการเมือง ซึ่งเป็น “วิธีคิด” ที่ทำให้
                 กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมไม่สามารถเกิดขึ้นหรือดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


                 3. .1. ข้อจำกัดจากกฎหมายและการตีความข้อกฎหมายเกี่ยวกับกิจการ
                 พาณิชย์

                         ปัญหาและอุปสรรการดำเนินกิจการพาณิชย์ในประเทศไทย พบว่าเป็นปัญหาทั้งจาก

                 1). ข้อจำกัดของกฎหมายหลักจากกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ พ.ร.บ.
                 การกระจายอำนาจฯ พ.ศ.2542 ที่เป็นกรอบการดำเนินงาน และ 2). ข้อจำกัดจากการตีความ
                 กฎหมายของภาครัฐ เพราะว่าการตีความกฎหมายและการใช้ดุลพินิจของหน่วยงานกำกับดูแล
                 การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีผลต่อการริเริ่มและดำเนินกิจการพาณิชย์ด้วยเช่นกัน


                         การตีความและการใช้ดุลพินิจจะมาจากหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานคือ

                            < ข้อหารือจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักผู้ทำ

                               หน้าที่กำกับดูแล ให้คำปรึกษา และออกกฎระเบียบเพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานของ
                               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                               จะยึดถือกฎระเบียบ การตีความข้อกฎหมายและการใช้ดุลพินิจของสถ. แต่บ่อยครั้ง

                               ได้สร้างข้อขัดแย้งต่อท้องถิ่นที่มีความเห็นไม่ตรงกัน

                            < ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงาน
                               คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นหน่วยงานที่รับปรึกษาและให้ความเห็นทางกฎหมายแก่

                               หน่วยงานรัฐตามมาตรา 7 (2) ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.
                               2522 ทำให้คณะกรรมการกฤษฎีกาต้องพิจารณาหนังสือหารือจากหน่วยงานรัฐถึง
                               แนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมาก ซึ่งบ่อยครั้ง

                               เมื่อหน่วยงานรัฐ (โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) มีความขัดแย้งกับ
                               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการตีความข้อกฎหมายก็มักส่งเรื่องให้คณะกรรมการ
                               กฤษฎีกาพิจารณาและนำผลการพิจารณาที่ได้เป็นข้อยุติและเป็นแนวทางการกำกับ

                               ดูแล และ

                            < ความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการเงินของ
                               แผ่นดินด้านการรับจ่าย การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน ตรวจสอบ

                               ผลการดำเนินงาน และตรวจสอบรายงานการรับจ่ายเงินประจำปีและงบแสดงฐานะ
   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285