Page 115 - kpi16531
P. 115
นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การดำเนินการแข่งขันกับเอกชน การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงสนใจพัฒนากิจการพาณิชย์
ให้เป็นแหล่งรายได้ที่ชัดเจนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.3) การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น คือ กระบวนการในการพัฒนาและคงไว้ซึ่ง
สภาพเศรษฐกิจที่ดีของท้องถิ่น (Morgan, England and Pelissero, 2007: 135)
วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น คือ การพัฒนา/การลงทุนระบบ
โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณูปการ การพัฒนาทรัพยากร
บุคคล ตลอดจนสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นในด้านต่างๆ อาทิ การสร้างงานที่ดีและ
เพิ่มขึ้น การพัฒนาบริเวณต่างๆ ในชุมชนโดยเฉพาะแหล่งเสื่อมโทรม ฯลฯ ทั้งนี้
เพื่อให้พื้นที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ และจะนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นภายในท้องถิ่น
ในรูปแบบต่างๆ อาทิ การลงทุน ภาษี ฯลฯ การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น
เป็นแนวทางการพัฒนารายได้ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ
ขณะที่ประเทศไทยอาจยังไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกับแนวทางนี้มากนัก การศึกษาวิจัย
ครั้งนี้จึงสนใจนำเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้เป็นแหล่งรายได้ทางเลือกของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.4) การกู้ยืมและพันธบัตร การกู้เงินเป็นการหาแหล่งเงินทุนผ่านระบบธนาคารพาณิชย์
และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยการกู้ยืมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่ทั้งนี้รัฐบาลต้องมีการกำหนดกฎระเบียบในการกู้ยืม
เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเหมาะสม ขณะที่การออกพันธบัตรรัฐบาล
เพื่อนำมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ยืมก็สามารถกระทำได้ในกรณีที่ระบบการ
คลังท้องถิ่นมีความน่าเชื่อถือและตลาดทุนมีการพัฒนา (ดวงมณี เลาวกุล, 2552:
105-109) การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงสนใจพัฒนาการกู้ยืมและพันธบัตรให้กลายเป็น
อีกหนึ่งแหล่งรายได้ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้เหตุผลสำคัญที่การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ใน 4 ประเภทนี้ กล่าวคือ
ประการแรก: เป็นแนวทางการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการได้เอง ซึ่งสอดคล้องกับหลักการกระจาย
อำนาจทางการคลัง
ประการที่สอง: ช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสัดส่วนรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองเพิ่มขึ้น
ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระทางการคลัง หรือ
สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยลดการพึ่งพิงงบประมาณจากรัฐบาล
ประการที่สาม: หากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมได้รับการจัดสรร
งบประมาณจากรัฐบาลค่อนข้างน้อย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรมีแหล่ง
รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองหรือดำเนินการได้เองในสัดส่วนค่อนข้างมาก
เพื่อสร้างความมั่นคงทางรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละ
ปีงบประมาณ