Page 117 - kpi16531
P. 117
100 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. วิธีการศึกษาวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวิธีการสำคัญ ดังนี้
1) การศึกษาเอกสารและวรรณกรรม (Literature Review) ที่เกี่ยวข้องกับ
1.1 ความหมาย แนวคิด หลักการ ในการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากแหล่งรายได้ 4 ประเภท ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ (User
Charges), กิจการพาณิชย์, การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น และการกู้ยืม/พันธบัตร
1.2 กรณีตัวอย่างการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยและต่างประเทศ
เฉพาะกรณีตัวอย่างในเรื่องค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ (User Charges),
กิจการพาณิชย์, การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น และการกู้ยืม/พันธบัตร
1.3 กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ไทย
2) การสำรวจข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยแบบสอบถาม (Field Survey)
ผู้วิจัยได้จัดส่งแบบสอบถามไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล
ขนาดใหญ่และขนาดกลาง จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,586 ชุด และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน
753 ชุด แบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด 41 แห่ง เทศบาล 658 แห่ง และองค์การบริหาร
ส่วนตำบล 53 แห่ง ซึ่งแบบสอบถามแบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนที่ 2 การจัดเก็บค่าธรรมเนียม/ค่าบริการจากการให้บริการสาธารณะ
ส่วนที่ 3 การดำเนินกิจการพาณิชย์ ส่วนที่ 4 การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ส่วนที่ 5 การกู้ยืมเงิน
และการจำหน่ายพันธบัตร ส่วนที่ 6 ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น และส่วนที่ 7 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ทั้งนี้ การสำรวจข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจดูพฤติกรรมที่ผ่านมาและความสนใจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เกี่ยวกับการพัฒนารายได้จากแหล่งรายได้ทั้งสี่ประเภท
3) การจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups) ผู้วิจัยจัดสนทนากลุ่มย่อยเพื่อระดมสมอง
ในประเด็นที่เกี่ยวข้องร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ซึ่งจัดขึ้น 1 ครั้ง ในระหว่างวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2557 โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เข้าร่วม จำนวน 26 แห่ง และ (2) กลุ่มหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้น 1 ครั้ง ในวันที่ 23
มกราคม 2558 โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) การแถลงผลงานวิจัยและรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) เมื่อได้ร่างข้อเสนอแนะ
แนวทางการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากแหล่งรายได้ทั้งสี่ประเภทแล้ว
ผู้วิจัยได้แถลงผลงานวิจัยและรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะ
ที่สมบูรณ์ การแถลงผลงานวิจัยและรับฟังความคิดเห็นจัดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2558 โดยมี
ผู้เข้าร่วม จำนวน 89 คน ได้แก่ ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ จำนวน 65 คน
ผู้แทนจากมูลนิธิเอเชีย จำนวน 14 คน และสื่อมวลชน จำนวน 10 คน