Page 116 - kpi16531
P. 116
นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประการที่สี่: เป็นแหล่งรายได้ที่อยู่ภายในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง แต่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะยังไม่คุ้นเคยมากนัก จึงมิได้ให้ความสำคัญ
ในการจัดเก็บหรือดำเนินการพัฒนารายได้
ประการที่ห้า: ยังไม่มีข้อเสนอแนะทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนารายได้ทั้ง 4 ประเภทนี้
อย่างชัดเจนมากนัก แนวทางการพัฒนารายได้ทั้ง 4 ประเภทนี้จึงเป็นข้อเสนอ
ใหม่เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
2. การศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำการสำรวจข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับกิจกรรม
การบริการสาธารณะและกิจการพาณิชย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน,
กิจกรรมการบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการในปัจจุบันแบบไร้ค่าธรรมเนียม
แต่เห็นว่าน่าจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อเป็นรายได้ของท้องถิ่น, กิจกรรมการบริการสาธารณะและ
กิจการพาณิชย์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการดำเนินการและจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือ
ค่าตอบแทนเพื่อเป็นรายได้ของท้องถิ่น, การกู้ยืมหรือการซื้อพันธบัตร และปัญหาอุปสรรคในการ
จัดเก็บรายได้จากการจัดบริการสาธารณะและการจัดกิจการพาณิชย์ รวมถึงการกู้ยืมเงินและการซื้อ
พันธบัตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน
3. การศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาปัญหาและข้อจำกัดในด้านต่างๆ อาทิ ข้อจำกัดทาง
กฎหมาย ข้อจำกัดทางการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อจำกัดทางศักยภาพความพร้อม
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และข้อจำกัดทางทัศนคติของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นต้น ที่ปัจจุบันได้เป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง
การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเสนอแนะแนวทางในแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดดังกล่าว เพื่อให้แนวทางใหม่ใน
การพัฒนารายได้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง
4. การศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาประสบการณ์การพัฒนารายได้ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เป็นแนวทางใหม่ๆ สำหรับ
การพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
5. การศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางใหม่ในการ
พัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 4 ประเภท ได้แก่ 1) ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ
สาธารณะ (User Charges), 2) กิจการพาณิชย์, 3) การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น และ 4) การ
กู้ยืม/พันธบัตร
6. การศึกษาวิจัยครั้งนี้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสู่
สาธารณะ (Workshop for Feasibility) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับหลักการและแนวทางใหม่ในการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นตามผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พร้อมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนใจและมีความ
พร้อมได้นำแนวทางใหม่ในการพัฒนารายได้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ไปทดลองปฏิบัติจริงในพื้นที่