Page 114 - kpi16531
P. 114

นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                 1.3 ขอบเขตการศึกษาวิจัย



                       ขอบเขตของเนื้อหาการศึกษาวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่

                       1.  จากโครงสร้างรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน การศึกษาวิจัยครั้งนี้
                 มุ่งพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากแหล่งรายได้เพียง 4 ประเภท ได้แก่


                         1.1)  ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ (User Charges)

                               ค่าธรรมเนียมในการให้บริการสาธารณะ (User Charges) เป็นเงินที่เก็บจากการ
                               ได้รับบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้บริการ โดยองค์กรปกครอง

                               ส่วนท้องถิ่นเรียกเก็บจากประชาชนผู้รับบริการเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี อาทิ
                               ค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะ ค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสีย ค่าธรรมเนียมที่จอด
                               ยานยนต์ ฯลฯ (สกนธ์ วรัญญูวัฒนา, 2553: 61-62) ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วน

                               ท้องถิ่นในต่างประเทศจำนวนมากได้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ
                               สาธารณะและนำเข้าเป็นรายได้ของท้องถิ่น ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ
                               ไทยส่วนใหญ่ยังคงยึดหลักการการให้บริการสาธารณะโดยไร้ค่าธรรมเนียม


                               การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงสนใจพัฒนาค่าธรรมเนียมในการใช้บริการสาธารณะ (User
                               Charges) ให้เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                         1.2)  กิจการพาณิชย์ คือ กิจการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถลงทุนและก่อให้เกิด
                               รายได้เพื่อนำมาเป็นผลตอบแทนกลับคืนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้การลงทุน
                               ดังกล่าวควรเป็นกิจการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้โดยมี
                               ผลตอบแทนเป็นกำไร มีระบบการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน และมีการจัดเก็บ

                               รายได้ที่เป็นระบบชัดเจน การดำเนินกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                               อาจกระทำได้หลายรูปแบบ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจร่วมลงทุนกับ

                               ภาคเอกชน กลุ่มองค์กรประชาสังคม รัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                               ด้วยกันเอง อาทิ โรงฆ่าสัตว์ บ่อบำบัดน้ำเสีย โรงรับจำนำ ฯลฯ (วีรศักดิ์ เครือเทพ,
                               การสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557) แม้ว่าปัจจุบันกฎหมายได้เปิดโอกาสให้
                               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินกิจการพาณิชย์ได้   แต่องค์กรปกครอง
                                                                                        9
                               ส่วนท้องถิ่นก็ยังคงเผชิญกับข้อจำกัดบางประการ อาทิ การถูกตีความว่าเป็น


                     9   พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา
                 และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน
                 ในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
                       (7) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

                       มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการ
                 สาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
                       (15) การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือ
                 จากสหการ
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119