Page 110 - kpi16531
P. 110

นวัตกรรมการพัฒนารายได้      3
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                       นอกจาก พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                 พ.ศ. 2542 ได้กำหนดถึงขนาดรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

                 ยังได้ระบุถึงแหล่งรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทต่างๆ เพิ่มเติมจากกฎหมายจัดตั้ง
                 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยระบุถึงประเภทของแหล่งรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                 แต่ละประเภท ทั้งนี้การกำหนดประเภทรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท
                 (องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา)

                 มีความแตกต่างกันไปตามสภาพโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างทางเศรษฐกิจ เป้าหมายในการบริหาร
                 และความรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท รวมถึง

                 ปัจจัยทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น (สกนธ์ วรัญญูวัฒนา, 2554: 20)

                       ปัจจุบันโครงสร้างประเภทรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถแบ่งได้เป็น
                 4 ประเภท โดยมีรายละเอียด (ดวงมณี เลาวกุล, 2552: 65-66) ดังนี้


                       1. รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง ประกอบด้วย

                          1.1  รายได้จากภาษีอากรที่ท้องถิ่นเก็บเอง ประกอบด้วย 6 รายการ ได้แก่ ภาษีโรงเรือน
                               และที่ดิน, ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีป้าย, อากรฆ่าสัตว์, อากรรังนกอีแอ่น และภาษีท้องถิ่น

                               จากยาสูบ น้ำมันและโรงแรม  5

                          1.2  รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร ประกอบด้วย 4 รายการ ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และ
                               ใบอนุญาต, รายได้จากทรัพย์สิน, รายได้จากสาธารณูปโภค และรายได้เบ็ดเตล็ด


                                                                                                         6
                       2. รายได้จากภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บให้ ประกอบด้วย 10 รายการ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ,
                 ภาษีธุรกิจเฉพาะ, ภาษีสุรา และเบียร์, ภาษีสรรพสามิต, ภาษี และค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน,
                 ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์, ภาษีการพนัน, ค่าภาคหลวงแร่, ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม

                 และอื่นๆ  7

                       3. รายได้จากภาษีที่รัฐบาลแบ่งให้ ประกอบด้วย 1 รายการ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม
                 พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                       4. เงินอุดหนุน ประกอบด้วย 3 รายการ ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไป, เงินอุดหนุนทั่วไปกำหนด
                             8
                 วัตถุประสงค์   และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ

                       ทั้งนี้โครงสร้างประเภทรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน
                 ออกไป ดังตารางที่ 2





                     5   เป็นรายได้เฉพาะของ อบจ. เท่านั้น ยกเว้นภาษีโรงแรมที่ กทม.มีสิทธิจัดเก็บได้
                     6   รวมที่จัดสรรให้ตาม พ.ร.บ.จัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการ
                 ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2534 (1 ใน 9 ) พ.ร.บ. เมืองพัทยา และ พ.ร.บ. อบจ.

                     7   รวมรายได้ตามกฎหมายอุทยานฯ ค่าภาคหลวงป่าไม้ ค่าธรรมเนียมน้ำบาดาล และอาชญาบัตรประมง
                     8   ถูกยุบรวมเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115