Page 213 - kpi10440
P. 213

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
                       ข้อเสนอแนะประการหนึ่งในการบูรณาการงานระหว่างหน่วยงาน คือ ควร

              นำภาระงานของแต่ละหน่วยงานมาพิจารณาร่วมกัน ว่าแต่ละหน่วยงานมีโครงการใดบ้าง
              เป็นโครงการต้นน้ำ (Upstream) โครงการกลางน้ำ (Midstream) และโครงการปลายน้ำ
              (Downstream) จากนั้นจึงค่อยพิจารณาหาความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของภาระงานจาก
              จุดนี้ เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถปฏิบัติภาระงานของตนได้อย่างครบถ้วนและครอบคลุม

              7.3  ข้อมูลกับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น               2


                   ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนา
              ท้องถิ่น หมายถึง สิ่งที่เรานำมาใช้ในการ
              วางแผนเพื่อที่จะทำให้ท้องถิ่นของเราดี
              ขึ้น ซึ่งถ้าจะทำให้ดีขึ้น ข้อมูลที่จะต้องรู้

              ก็คือ อะไรที่ไม่ดี หรืออะไรที่ดีอยู่แล้ว
              แต่เราอยากจะให้มันดียิ่งขึ้น แล้วสิ่งที่ไม่
              ดีและดีดังกล่าวนั้น มันอยู่ในสภาวะ
              แวดล้อมทางกายภาพอย่างไร ถ้าหากเรา
              ไม่รู้สิ่งดีและไม่ดี ตลอดทั้งสภาวะแวดล้อม เราก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่าเราจะทำให้อะไรดีขึ้น

                   ข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำแผน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำ

              แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548  ซึ่งปรากฏอยู่ในบทที่ 2 ของ
                                                        3
              แผนฯ มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป และ 2) ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนา
              โดยมีรายละเอียด ดังนี้




                  2   ดร.ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ “ข้อมูลกับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น” สถาบัน
                   พระปกเกล้า 2551

                  3   ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป. เล่มที่  122 ตอนพิเศษ 115
                   ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2548. หน้า 46-57.


           1        สถาบันพระปกเกล้า
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218