Page 216 - kpi10440
P. 216
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
2) การทำประชาคมเพื่อการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น
การทำประชาคมเพื่อการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น คือ การสร้างโอกาสให้
ประชาชนได้มีโอกาสในการแจ้งปัญหา ศักยภาพ และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ใน
ขณะเดียวกันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะได้มีโอกาสรวบรวบปัญหาและศักยภาพ
และ ตลอดทั้งมีโอกาสแจ้งปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายภาครัฐ ยุทธศาสตร์การพัฒนา
จังหวัด โรคติดต่อ และกระแสโลกาภิวัฒน์ เป็นต้น ที่จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตต่อ
ประชาชน แล้วหลังจากนั้น ก็แปลงปัญหา ศักยภาพ และผลกระทบจากปัจจัยภายนอก
ไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “ความต้องการการพัฒนา” ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ช่องทางใน
การรับฟังข้อมูลจากประชาชนนอกจากการประชุมแล้ว ก็อาจจัดให้มีกล่องรับข้อมูล
การแจ้งข้อมูลทางโทรศัพท์ การแจ้งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ท เป็นต้น
ข้อพึงปฏิบัติในการจัดประชุมประชาคม
(1) ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นการล่วงหน้าว่า องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นต้องการอะไรจากการประชุมประชาคม
(2) ประชาชนจะต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้างเพื่อไปร่วมประชุม
(3) ต้องสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนว่า การจัดทำประชาคม เป็นการ
ตรวจหาปัญหา และศักยภาพของท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลในการ
วางแผนพัฒนาในระยะยาว แล้วจึงจะมีการพิจารณาร่วมกันกับ
ประชาชนอีกครั้งว่าเราจะร่วมกันแก้ไขหรือทำให้ดีขึ้นร่วมกันอย่างไร
เนื่องจากงบประมาณที่มีอย่างจำกัด
7.3.3 ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหา
หลังจากการประชุมประชาคมซึ่งเป็นการรับฟังข้อมูลและปัญหาของประชาชน
แล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะได้รับทราบถึงปัญหาว่าปัจจุบันประชาชนในพื้นที่
ประสบกับปัญหาในด้านใดบ้าง จากนั้นเมื่อเราทราบข้อมูลแล้วว่ามีปัญหาด้านใดบ้าง เพื่อ
สถาบันพระปกเกล้า 1