Page 220 - kpi10440
P. 220
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
ตารางที่ 7.1 ตัวอย่างข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาที่มาจากการวิเคราะห์ศักยภาพ
ศักยภาพ ความต้องการ ปัจจุบันมีแล้ว จะต้องสร้างเพิ่ม
เกาะร้อยแห่ง ศูนย์ศึกษาฯ 100 แห่ง 30 แห่ง 70 แห่ง
จากการวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพ จะทำให้เราสามารถระบุความต้องการการ
พัฒนา และจัดทำเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนา เพื่อสู่จุดมุ่งหมายที่ว่าเราต้องดำเนิน
การใดให้สำเร็จให้ได้ กล่าวคือจะต้องทำเพิ่มให้ได้อีก 70 แห่ง ที่กล่าวมานี้คือตัวอย่าง
หนึ่งของการวิเคราะห์ แต่ในทางปฏิบัติหากท่านลงไปจัดทำประชาคมหรือสำรวจข้อมูลก็
จะต้องนำเอาศักยภาพทุกศักยภาพมาวิเคราะห์หาความต้องการและสรุปเป็นข้อมูล
พื้นฐานให้ครบทุกประเด็น
7.3.5 ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาจากปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายนอก หมายถึง
สิ่งใดก็ตามที่อยู่นอกเหนือการควบคุม
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น
นโยบายรัฐบาล กฎหมาย ยุทธศาสตร์
หรือแผนพัฒนาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์
พัฒนากลุ่มจังหวัด กระแสโลกาภิวัตน์
หรือแม้แต่โรคติดต่อ เป็นต้น ปัจจัย
ภายนอกเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบในบริเวณกว้าง ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขปัจจัย
ภายนอกต้องใช้เวลาและไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จเพียงหน่วยงานเดียว
ผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่เป็นภาพรวม หน่วยงานระดับจังหวัด และ
ระดับชาติมักจะให้ความสนใจ และแจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือ
ดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การลดอุบัติเหตุทางการสัญจรทางบกระหว่าง
เทศกาล การป้องกันโรคเอดส์ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การลดการใช้
สถาบันพระปกเกล้า 20