Page 221 - kpi10440
P. 221
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
พลังงาน เป็นต้น เมื่อท้องถิ่นเห็นประเด็นของปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อท้องถิ่น
แล้ว ให้พิจารณาว่าในประเด็นนั้นๆ เกี่ยวโยงกับท้องถิ่นของตนเองอย่างไร
ตัวอย่างเช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นจะต้องโยงให้เห็นว่า ปัจจุบันผู้ติดยาเสพติดของประชาชนในท้องถิ่นที่ยังไม่ได้รับ
การบำบัดมีจำนวนเท่าใด เพื่อชี้ให้เห็นความต้องการ ตัวอย่างเช่น มีผู้ติดยาเสพติดทั้ง
สิ้น 100 คน ยังไม่ได้รับการบำบัดรักษา 25 คน แสดงว่าท้องถิ่นมีความต้องการที่จะ
ทำการบำบัดผู้ติดยาเสพติดเพิ่มอีก จำนวน 25 คน
ตารางที่ 7.2 ตัวอย่างข้อมูลพื้นฐานการพัฒนา
ที่มาจากการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายนอก ความต้องการ บำบัดฯ แล้ว ยังไม่ได้บำบัดฯ
ยาเสพติด บำบัดฯ ให้ได้ 100 คน 75 คน 25 คน
7.3.6 ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาที่มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ
นอกจากการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาจากพื้นที่โดยตรงแล้ว บางครั้ง
เราอาจจะต้องพิจารณาข้อมูลหรือสถิติที่มีหน่วยงานราชการจัดเก็บไว้แล้ว ข้อมูลประเภท
นี้ ที่นิยมใช้กันก็ได้แก่ ข้อมูล กชช. 2ค และ จปฐ. ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวง
มหาดไทย
ข้อมูล จปฐ. หรือที่เรียกกันเป็นภาษาอังกฤษว่า Family Profile ข้อมูล
4
จปฐ. นี้ทำการจัดเก็บทุกปี เป็นข้อมูลที่บ่งบอกว่าประชากรในแต่ละครัวเรือนมีคุณภาพ
ชีวิตในช่วงหนึ่ง ๆ เป็นอย่างไร ซึ่งปกติจะนับช่วงระยะเวลา 5 ปีตามระยะเวลาของแผน
4 กรมการพัฒนาชุมชน. คู่มือการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)
สำหรับใช้ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (ปี 2550-
2554).
20 สถาบันพระปกเกล้า