Page 209 - kpi10440
P. 209
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
ต้องการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นนี้มาวิเคราะห์หาสาเหตุหลัก ซึ่งสาเหตุหลักเราเรียกว่า “จุดคานงัด”
2) ขั้นตอนที่ 2
หรือสิ่งที่เราอยากจะแก้ไขนั้นนำไปสู่ความต้องการในการพัฒนา ซึ่งเรา
จำเป็นต้องทราบข้อมูลพื้นฐานก่อนที่จะนำมาเป็นประเด็นหลักในการพัฒนา เช่น ประเด็น
ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
3) ขั้นตอนที่ 3
เมื่อเราได้ประเด็นที่ต้องการพัฒนาแล้ว ก็นำมาจัดลำดับความสำคัญ
ประเด็นไหนที่มีความสำคัญมากที่สุดก็นำมาเป็นกรอบในการแก้ไขปัญหาเสียก่อน โดยใช้
วิธีการวิเคราะห์หา SWOT คือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ซึ่งเมื่อวิเคราะห์
แล้วมีจุดแข็งและโอกาส มากกว่า จุดอ่อนและอุปสรรคก็จะสามารถนำมาแก้ไขปัญหา
เองได้ แต่ถ้าเกิดผลตรงกันข้าม คือ จุดแข็ง โอกาส มีน้อยกว่า จุดอ่อนและอุปสรรค ก็ไม่
สามารถนำมาแก้ไขปัญหาเองได้ จำเป็นต้องอาศัยการประสานงานกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา
4) ขั้นตอนที่ 4
เมื่อเราสามารถหาทางแก้ไขปัญหาเองได้ หรือมีการประสานงานกับ
หน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาแล้ว ก็จะนำมาสู่วิสัยทัศน์ (Vision) คือ เป็นสิ่งที่เราอยากให้
เกิดขึ้นโดยมีการการคิดอย่างเป็นระบบ มีการนำข้อมูลมาประมวลผลว่าจะก่อให้เกิดผล
อะไรบ้างในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการปฏิบัติจะต้องนำมากำหนดจุดมุ่งหมาย /
พันธกิจเสียก่อน
5) ขั้นตอนที่ 5
เมื่อกำหนดจุดมุ่งหมาย / พันธกิจแล้ว การที่จะทำให้สำเร็จทุกจุด
มุ่งหมายจะต้องนำมากำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จ (KPI) แล้วนำมากำหนดระยะเวลาหรือ
เป้าหมายรายปีว่า เราจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ เท่าไหร่ แล้วจึงนำมากำหนดเป็น
1 2 สถาบันพระปกเกล้า