Page 210 - kpi10440
P. 210
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
แนวทางในการพัฒนาเพื่อสร้างเป็นโครงการหรือแผนยุทธศาสตร์เพื่อของบประมาณใน
การนำมาแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาศักยภาพที่เดิมดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก
กล่าวโดยสรุป แนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์นอกจากจะเป็นแนวทางใน
การวางกรอบเพื่อแก้ไขปัญหาแล้ว แต่ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพที่เดิมดีอยู่แล้วพัฒนาให้
ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย ซึ่งเป็นการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้สูงสุด นั่นก็คือ
วิสัยทัศน์ในการที่จะทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขเพื่อนำมาเป็นแนวทางการพัฒนา แล้วนำมา
รวมไว้ในจุดเดียวกันรวมกันอยู่ในแผ่นเดียวกัน ซึ่งเรียกว่าแผนที่ยุทธศาสตร์
7.2.3 การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติในท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ หมายถึง แนวทางในการบรรลุจุดหมายของหน่วยงาน ดังนั้น
จุดหมายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการจัดทำยุทธศาสตร์ โดยผู้จัดทำจำเป็นต้องกำหนด
จุดหมายของหน่วยงานให้ชัดเจน เพื่อให้ยุทธศาสตร์ที่ได้ออกมานั้นตรงตามความ
ต้องการ และดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง ขั้นตอนของการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การ
ปฏิบัติในท้องถิ่น ประกอบด้วย
1) การกำหนดพันธกิจ (Mission)
พันธกิจ หมายถึง กรอบ หรือขอบเขตการดำเนินงานของหน่วยงาน การ
กำหนดพันธกิจ สามารถทำได้โดย นำภารกิจ (หรือหน้าที่ความรับผิดชอบ) แต่ละข้อที่
หน่วยงานได้รับมอบหมายตั้งแต่แรกก่อตั้ง มาเป็นแนวทาง ทั้งนี้ ผู้จัดทำต้องกำหนดให้
ชัดเจนว่าพันธกิจแต่ละข้อมีความหมายครอบคลุมขอบเขตแค่ไหน และแต่ละข้อมีความ
แตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในขั้นตอนต่อไปเป็นไปอย่างสะดวก
และถูกต้อง
2) การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ให้กับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์ หมายถึง สิ่งที่เราต้องการให้หน่วยงานเป็น ภายในกรอบระยะ
เวลาหนึ่ง ๆ โดยการจัดทำวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน ควรกระทำเมื่อเราได้กำหนดพันธกิจ
สถาบันพระปกเกล้า 1