Page 51 - kpi11663
P. 51
50
ความรุนแรงและอาการของแต่ละราย พร้อมทั้งลงไปเยี่ยมดูแลที่บ้านตามแผนการดูแลของผู้ป่วย
แต่ละราย นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารงานศูนย์ฯ ยังจัดให้มีการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุและ
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในทุกหมู่บ้าน โดยคัดกรองผู้มีอาการข้อเข่าเสื่อม เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ซึมเศร้า สมองเสื่อม และวัณโรค ซึ่งดำเนินการโดยชมรม อสม. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และ
เจ้าหน้าที่เทศบาล จากการดำเนินกิจกรรมดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงทำให้พบผู้ที่ไม่มี
กำลังทรัพย์ คณะกรรมการบริหารงานศูนย์ฯ จึงจัดตั้งกองทุนเพื่อผู้มีภาวะพึ่งพิงขึ้น โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อเป็นกองทุนสำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน
โรงเรียนผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุและกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองแม่เหียะ จัดทำ
กิจกรรมโรงเรียนสำหรับผู้สูงอายุ โดยให้ผู้สูงอายุได้รวมกลุ่มเรียนรู้และทำกิจกรรมเพื่อดูแล
สุขภาพกายและใจ อาทิ การเรียนรู้การดูแลสุขภาพ การเรียนรู้ความรู้รอบตัว กิจกรรมสันทนาการ
การทำงานฝีมือ ฯลฯ
ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการขับเคลื่อนงานด้วยการมีส่วนร่วม
ของทุกภาคส่วนจากทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ ได้แก่ ชมรม Care giver ชมรม อสม. ชมรม
ผู้สูงอายุ ชมรม อพม. ชมรมกำนันและผู้ใหญ่บ้าน สภาเด็กและเยาวชน คณะกรรมการชุมชน
โรงพยาบาลหลายแห่ง และเทศบาล ซึ่งให้บริการครอบคลุมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการ และ
กลุ่มเสี่ยง สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคมได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีและป้องกันไม่ให้เกิด
ภาวะเจ็บป่วยผ่านการเรียนการสอนของโรงเรียนผู้สูงอายุ รุ่นที่ 1 จำนวน 60 คน และรุ่นที่ 2
จำนวน 100 คน ขณะที่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการฟื้นฟูสุขภาพและ
กายภาพบำบัด วันละ 10 – 12 รายหมุนเวียนสับเปลี่ยนกัน ซึ่งในปีที่ผ่านมาผู้เข้ารับบริการ
จำนวน 25 รายจากทั้งหมด 52 ราย อาการทุเลาสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้โดยไม่ต้องเข้ารับ
บริการฟื้นฟูต่อ รวมทั้ง ผู้เข้ารับบริการร้อยละ 75 มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นจากการประเมินโดยใช้แบบ
สำรวจคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก นอกจากนี้ ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง จำนวน
42 ราย เกิดแผลกดทับ เพียงร้อยละ 3.57 และหกล้ม/ตกเตียง ร้อยละ 7.14 ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่
ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการไว้ คือ ร้อยละ 10 ที่สำคัญ การดำเนินงาน
ของศูนย์ฯ ยังก่อให้เกิดจิตอาสาหลายกลุ่มที่เข้ามาช่วยดูแลประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อันเป็น
การดำเนินงานที่ยั่งยืน จึงกล่าวได้ว่า ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ
เป็นการยกระดับการบริการด้านสาธารณสุขที่ช่วยสร้างสุขให้แก่ชาวแม่เหียะ
รางวัลพระปกเกล้า’ 60