Page 48 - kpi11663
P. 48

หารือและตัดสินใจร่วมกับคณะกรรมการเชิงพระธาตุดอยคำในการจัดพื้นที่บริเวณเชิงพระธาตุ
              ดอยคำให้แก่ผู้พิการเพื่อจำหน่ายสินค้า

                    การรวมกลุ่มแปรรูปดอกมะลิ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองแม่เหียะ ตระหนักถึง
              ปัญหาการจัดการดอกมะลิที่เน่าเสียจำนวนมาก จึงหาทางแก้ไขปัญหาด้วยการส่งเสริมให้เกิด
              การรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อแปรรูปดอกมะลิเป็นผลิตภัณฑ์บุหงามหามงคลดอกไม้หอมศักดิ์สิทธิ์

              และนำมาจำหน่าย กลายเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนและช่วยลดปริมาณ
              ดอกมะลิที่เน่าเสีย

                    การจัดตั้งกลุ่มเด็กมัคคุเทศก์อาสา เทศบาลเมืองแม่เหียะได้ประชุมปรึกษาหารือกับ
              คณะกรรมการเชิงพระธาตุดอยคำในการจัดตั้งกลุ่มเด็กและเยาวชนมัคคุเทศก์อาสาเพื่อนำชม
              วัดพระธาตุดอยคำ โดยมีการพูดคุยสอบถามความต้องการของกลุ่มเด็กและเยาวชน รับสมัคร
              อาสาสมัคร และจัดอบรมให้ความรู้ที่จำเป็นทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ คณะกรรมการเชิงพระธาตุ

              ดอยคำบริหารรายได้ส่วนหนึ่งจากการนำชมให้เป็นค่าตอบแทนแก่มัคคุเทศก์อาสา และอีกส่วนหนึ่ง
              นำเข้ากองทุนเพื่อใช้พัฒนาพื้นที่ต่อไป

                    การพัฒนาพื้นที่เชิงพระธาตุดอยคำด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมทำให้บริเวณดังกล่าว
              กลายเป็นจุดให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ โดยมีศูนย์บริการที่เป็นศูนย์กลางในการอำนวยความสะดวก
              และดูแลความปลอดภัย ผู้มาสักการะมีพื้นที่จอดรถที่สะดวกและปลอดภัย มีรถบริการขึ้นลงวัด

              พระธาตุดอยคำที่ให้บริการทุก 5 นาทีในราคาที่เป็นมาตรฐานและเป็นธรรม สามารถหาซื้อดอกมะลิ
              เพื่อสักการะบูชาได้สะดวกในราคาที่เป็นมาตรฐานและเป็นธรรม และมีห้องน้ำให้บริการสำหรับ
              ผู้พิการและผู้สูงอายุ การพัฒนาพื้นที่เชิงพระธาตุดอยคำจึงเป็นการจัดพื้นที่ให้เป็นระเบียบ
              เรียบร้อย ซึ่งสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุได้ ที่สำคัญ ยังช่วยให้เกิดผลดี
              ในทางสังคมและเศรษฐกิจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ กล่าวคือ

                    ในทางเศรษฐกิจ พ่อค้าแม่ค้าบริเวณเชิงพระธาตุดอยคำที่เป็นคนในเขตพื้นที่เทศบาลเมือง

              แม่เหียะมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยก่อนการจัดระเบียบพื้นที่ มีรายได้เฉลี่ย 6,000 บาทต่อเดือน และ
              หลังจากการจัดระเบียบพื้นที่ มีรายได้เฉลี่ย 15,000 บาทต่อเดือน ซึ่งส่วนใหญ่รายได้ส่วนนี้
              เป็นรายได้หลักของครอบครัว เช่นเดียวกับกลุ่มคนขับรถสี่ล้อแดง และกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชน
              ที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้นเพราะมีช่องทางในการให้บริการและจำหน่ายสินค้า/ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม




                                                                  รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53