Page 46 - kpi11663
P. 46
5
การร่วมตัดสินใจและรับประโยชน์ ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณรายจ่าย
ประจำปี โดยมีส่วนเป็นผู้ตัดสินใจคัดเลือกโครงการ/กิจกรรมที่บรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น
ซึ่งโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวจะถูกนำมาบรรจุในเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
เมื่อเทศบาลบริหารงบประมาณที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนแล้ว
ประชาชนย่อมได้รับประโยชน์เพราะได้รับการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาที่ตรงจุด
สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเลิศ ด้านความโปร่งใสและ
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ของเทศบาลเมืองแม่เหียะ ได้แก่
ดอยคำ ลานทำ นำสุข
วัดพระธาตุดอยคำในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะได้รับความศรัทธาอย่างแรงกล้าจาก
ประชาชนทั่วสารทิศ ส่งผลให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในพื้นที่เป็นจำนวนมาก
โดยเฉลี่ย 3,000 คนต่อวันในช่วงเทศกาล ร้านค้าดอกมะลิกว่า 100 ร้านต่างเข้ามาจับจองพื้นที่
ริมถนนตลอดเส้นทางขึ้นไปยังวัดพระธาตุดอยคำ ก่อให้เกิดปัญหาการจราจร อุบัติเหตุบนถนน
การทะเลาะวิวาทกันของพ่อค้าแม่ค้า และความสกปรกไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่
ประกอบกับด้วยลักษณะเส้นทางที่ลาดชันอันตรายและบริเวณวัดมีสถานที่จอดรถไม่เพียงพอ
ผู้มาสักการะจึงไม่ได้รับความสะดวกและเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง
ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าว ที่ผ่านมาเทศบาลเริ่มต้นสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือกันหลายครั้งระหว่างผู้ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพปุยซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่วัดพระธาตุดอยคำ
ทางหลวงชนบท ตำรวจจราจร พ่อค้าแม่ค้า และคนขับรถสี่ล้อแดง ซึ่งได้ข้อตกลงร่วมกันว่า
ห้ามไม่ให้มีการจำหน่ายสินค้าริมถนน และให้เทศบาลจัดให้มีพื้นที่จำหน่ายสินค้า ลานจอดรถ และ
คิวรถสี่ล้อแดงรับส่ง ณ บริเวณเชิงวัดพระธาตุดอยคำ โดยเทศบาลเป็นผู้ปรับปรุงพื้นที่และดูแล
รักษาความสะอาด ในระยะแรกพ่อค้าแม่ค้าไม่ให้ความร่วมมือเพราะกังวลว่าจะขายไม่ได้ เทศบาล
จึงจัดประชุมพูดคุยระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกหลายครั้ง กระทั่งเกิดสัญญาประชาคมร่วมกัน
โดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการพื้นที่ เรียกว่า คณะกรรมการเชิงพระธาตุ
ดอยคำ ซึ่งคัดเลือกมาจากพ่อค้าแม่ค้าและคนขับรถสี่ล้อแดง และให้เทศบาลเป็นที่ปรึกษา
รางวัลพระปกเกล้า’ 60