Page 42 - kpi11663
P. 42
1
สุขภาพ ทีมสหวิชาชีพ ประกอบด้วย อสม. เจ้าหน้าที่กองสวัสดิการสังคม เทศบาล
เมืองกระบี่ และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลกระบี่ เป็นต้น
= ส่งต่อผู้ป่วย กรณีที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง
= อสม.ติดตาม ตรวจเยี่ยมบ้านต่อเนื่อง
= สรุปและประเมินผลการดำเนินงานร่วมกับ อสม.ในแต่ละชุมชน เพื่อปรับปรุงและ
พัฒนาการดำเนินงานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
จากการดำเนินโครงการโรงพยาบาลเคลื่อนที่ 12,000 เตียงนี้ ประสบผลสำเร็จในการ
ดำเนินโครงการเป็นอย่างดียิ่ง เนื่องด้วยเทศบาลเมืองกระบี่ได้จัดให้มีการรับฟังปัญหาด้านสุขภาพ
จากภาคประชาชน และได้ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและภาคประชาชนในการ
ดำเนินโครงการ ภาครัฐทำหน้าที่สร้างองค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพให้กับประชาชน และ อสม.
ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการสอนงาน และสร้างความมั่นใจให้กับผู้แลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงใน
ครอบครัวว่า “คนในครอบครัวสามารถดูแลคนในครอบครัวเองได้” นอกจากนี้ นับได้ว่า อสม.
ของเทศบาลเมืองกระบี่มีจุดแข็ง โดยมีบทบาทในการเป็นผู้นำการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัย
และคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัย
ของประชาชนในชุมชน รวมถึงมีหน้าที่ “แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงาน
สาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ดำรงตนเป็นตัวอย่างที่ดี” ถือเป็นภาคีเครือข่ายที่ใกล้ชิดให้
ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการค้นหาข้อมูลสุขภาพในชุมชน ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในชุมชน
เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการจัดการดูแล เน้นที่วิถีการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยและผู้ดูแล
เป็นสำคัญ เพื่อทำให้แก้ปัญหาของผู้ป่วยได้ตรงจุด
โครงการโรงพยาบาลเคลื่อนที่ 12,000 เตียง เป็นโครงการที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง
เจ้าหน้าที่ของภาครัฐกับผู้ป่วยและครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้พร้อมเสริมสร้างการดูแล
“สุขภาพ” อย่างเป็นองค์รวม โดยยึดแนวคิดการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และ
การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและครอบครัว ทำให้เกิดความต่อเนื่องในการรักษา ส่งผลให้ประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยดีขึ้นในระยะยาว ส่งผลให้ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองกระบี่
มีสุขภาวะที่ดีตามยุทธศาสตร์ของเทศบาลที่ว่า เมืองคุณภาพ (Q-city) ด้านเมืองสุขภาพ (Healthy
City) ที่มุ่งให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีตลอดไป
รางวัลพระปกเกล้า’ 60