Page 40 - kpi11663
P. 40

เรียบร้อยให้กับประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองกระบี่ อันส่งผลให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว
              มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมาตลอดจนถึงปัจจุบัน

                    นอกจากนี้ สมาชิก อปพร. ยังได้รับรางวัล สมาชิก อปพร.ดีเด่น และศูนย์ อปพร.ดีเด่น
              จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  อันเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
              อันส่งผลให้องค์กรปกครองท้องถิ่นและหน่วยงานราชการต่างๆ ที่อยู่ทั้งในและนอกจังหวัดกระบี่

              สนใจเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการพัฒนาต่อยอดหรือปรับใช้ให้
              เหมาะสมกับสภาพพื้นที่หรือของหน่วยงานตนเองต่อไป


              โครงการโรงพยาบาลเคลื่อนที่ 12,000 เตียง


                    เทศบาลเมืองกระบี่ เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลกระบี่ ซึ่งให้บริการดูแลรักษาในระดับทุติยภูมิ
              และตติยภูมิ จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาใช้บริการเจ็บป่วยด้วยโรคพื้นฐานที่ต้องการ
              การดูแลรักษาในระดับปฐมภูมิเท่านั้น ส่งผลให้โรงพยาบาลเกิดความแออัด ประชาชนต้องรอคิว
              นาน และเจ้าหน้าที่มีภาระงานมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและคุณภาพการบริการ
              และไม่สอดคล้องกับภารกิจหลักของโรงพยาบาลคือ การจัดบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ

                    ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารเทศบาลเมืองกระบี่จึงได้มีการประชุมประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็น

              จากประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลเมืองกระบี่ทั้ง 14 ชุมชน ซึ่งได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการบริการ
              สาธารณสุขเชิงรุกในชุมชน คือ “ทำบ้านให้เป็นโรงพยาบาล” โดยในปี พ.ศ. 2554 เทศบาลเมือง
              กระบี่ มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้นประมาณ 12,000 ครัวเรือน โดยมีเป้าหมายให้ทุกครัวเรือนสามารถ
              ดูแลสุขภาพตนเองได้ จึงเป็นที่มาของโครงการโรงพยาบาลเคลื่อนที่ 12,000 เตียง เปรียบบ้าน
              เสมือนโรงพยาบาล โดยมีญาติพี่น้องภายในบ้านเป็นพยาบาลคอยดูแลผู้ป่วยในบ้าน มีอาสาสมัคร
              สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง คอยให้คำแนะนำ ให้การช่วยเหลือ

              สนับสนุน สร้างองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ
              ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และทั่วถึง ได้รับบริการสุขภาพแบบองค์รวมครบทั้ง 4 มิติ คือ 1) การ
              ส่งเสริมสุขภาพ 2) การป้องกันโรค 3) การรักษาโรค และ 4) การฟื้นฟูสุขภาพให้เหมาะสมกับภาวะ
              สุขภาพ เพื่อลดการพึ่งพิงโรงพยาบาล ลดจำนวนผู้ป่วยโรคพื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องมาใช้บริการ ณ
              โรงพยาบาลประจำจังหวัด และเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพและพึ่งตนเองได้ รวมทั้งมีระบบ




                                                                  รางวัลพระปกเกล้า’ 60
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45