Page 6 - kpiebook67039
P. 6
5
ผลการศึกษาจากการวิจัยครั้งนี้มีสาระส�าคัญดังต่อไปนี้
ประการแรก การเปรียบเทียบกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย พบว่าในกรณีของประเทศมาเลเซีย พรรคการเมืองน�าเกม Sim
Democracy ไปใช้เพื่อเสริมทักษะการเป็นผู้น�าในระบอบประชาธิปไตยให้กับผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง
แต่ไม่มีการน�าไปใช้เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในเชิงบริบท
ของประเทศมาเลเซีย ส่วนภาคประชาสังคมน�าเกมไปใช้เพื่อสร้างเครือข่ายผู้น�าเยาวชน
ในกรณีของประเทศฟิลิปปินส์ พรรคการเมืองน�าเกม Sim Democracy ไปใช้โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อคัดสรรสมาชิกที่เข้าสู่พรรคการเมือง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง โดยมีเป้าหมายหลัก
คือกลุ่มเยาวชน ส�าหรับการน�าเกมไปใช้ในสถาบันการศึกษาพบว่าสถาบันการศึกษาไม่ได้น�าเกมไปใช้โดยตรง
หากแต่มีเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองน�าเกมไปใช้ในมหาวิทยาลัยผ่านสมาชิกในเครือข่าย ส่วนองค์กร
ภาคประชาสังคมน�าเกมไปใช้โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างเครือข่ายผู้น�าเยาวชน และสร้างความเข้าใจเรื่องสังคมเปิดกว้าง
ในกรณีของประเทศไทย พรรคการเมืองน�าเกมไปใช้เพื่อสร้างเครือข่ายร่วมกับผู้น�าเยาวชน ในขณะที่
การน�าเกมไปใช้ในสถาบันการศึกษาพบอย่างแพร่หลาย และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี กล่าวคือ มีการใช้
ทั้งในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยโดยบุคลากรภายในเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ส�าหรับองค์กรภาคประชาสังคม เกมถูกน�าไปใช้เพื่อสร้างเครือข่ายผู้น�าเยาวชน และสร้างความเข้าใจเรื่อง
ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ประการที่สอง ในเรื่องการสังเคราะห์ตัวแบบการจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง
คณะผู้วิจัยพัฒนากลยุทธ์ 3x3 ในฐานะกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนอย่างเป็นระบบ และมีล�าดับขั้นตอนในการน�าเกมไปใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเรื่อง
การส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองซึ่งรวมไปถึงการเสริมพลังพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตัวแบบดังกล่าว
แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของเงื่อนไขในระดับภายในองค์กร ระดับระหว่างองค์กร และระดับสังคมที่ส่งผล
ต่อการวางกลยุทธ์ การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง