Page 5 - kpiebook67039
P. 5
4 กลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย : กรณีศึกษาเกม Sim Democracy
บทคัดย่อ
เกมเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง และได้รับ
การน�าไปใช้โดยพรรคการเมือง องค์กรภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษา การออกแบบและพัฒนาเกม
เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองจ�านวนหนึ่งในรอบทศวรรษที่ผ่านมาเกิดขึ้นภายใต้โจทย์ของการเพิ่มคุณภาพ
ของระบอบประชาธิปไตย ในแง่นี้เนื้อหา และกลไกของเกมจะเน้นในเรื่องการเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่อง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน การอภิปรายถึงประสบการณ์ในฐานะพลเมือง และการเสริมพลัง
ให้เป็นผู้น�าในการสร้างความเปลี่ยนแปลง (Proactive agent of change) อย่างไรก็ตาม การออกแบบและพัฒนา
เกมเพียงอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอที่จะสร้างวงจรความเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้เรื่องทักษะความเป็นพลเมือง
ด้วยเหตุนี้การท�าความเข้าใจในเรื่องการวางกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง
จึงมีความส�าคัญ
หากพิจารณาในภาพรวมเกมที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความเป็นพลเมืองถูกผลิตออกมา
จ�านวนมาก แต่มีเพียงจ�านวนน้อยที่ได้รับการน�ามาใช้อย่างยาวนานโดยกลุ่มผู้ใช้ที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือ
เกม Sim Democracy ซึ่งเป็นบอร์ดเกมที่มุ่งให้ความรู้ในเรื่องทักษะความเป็นพลเมือง และการเลือกตั้ง
ในระบอบประชาธิปไตย นอกจากเกมดังกล่าวจะถูกน�าไปใช้กับผู้เล่นหลากหลายกลุ่มและช่วงวัย ยังมีการน�า
ไปใช้ในหลายประเทศ การน�าเกม Sim Democracy ไปใช้ในบริบทที่หลากหลายเช่นนี้น�ามาสู่ค�าถาม
ในเรื่องพลวัตของการใช้เกมภายใต้บริบทที่แตกต่างกัน ตลอดจนความแตกต่างของกลยุทธ์ในการน�าเกม
Sim Democracy ไปใช้
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกม
เพื่อส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองในประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย โดยตัวแสดงสามกลุ่ม ได้แก่
พรรคการเมือง องค์กรภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษา และเพื่อสังเคราะห์ตัวแบบการจัดกระบวนการ
เกมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมือง คณะผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์
เชิงลึก และการเก็บข้อมูลเอกสาร ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งในประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย