Page 4 - kpiebook67039
P. 4
3
ค�ำน�ำสถำบันพระปกเกล้ำ
ในปัจจุบัน เกม หรือกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานไม่ได้มีไว้เพื่อจุดประสงค์ของความบันเทิงแต่เพียง
อย่างเดียว การน�าเกมมาใช้ นอกจากจะให้องค์ความรู้โดยตรงผ่านเนื้อหา ยังสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม
ของผู้เล่นได้จากประสบการณ์ของการเล่น หนึ่งทศรรษที่ผ่านมา เกมได้ถูกออกแบบและพัฒนาให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือ
ของการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะในสังคม โดยเฉพาะทักษะความเป็นพลเมืองที่ซึ่งมีความส�าคัญเป็นอย่างมาก
ภายใต้ปรากฏการณ์ของสภาวะประชาธิปไตยถดถอย การกระตุ้นให้ประชาชนเข้าใจและยึดมั่นในคุณค่าของ
ความเป็นเสรีประชาธิปไตย พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทางการเมืองอย่างกระตือรือร้น
จึงเป็นหนึ่ง่ในจุดมุ่งหมายที่ส�าคัญส�าหรับการสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน การออกแบบเครื่องมือและการใช้
กระบวนการเกมกลายมาเป็นการต่อยอดเชิงนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนประชาธิปไตยในสังคมไทย
หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ผลของการน�าเกมการสร้างทักษะพลเมืองที่มีชื่อว่า
Sim Democracy ในประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยมาใช้เป็นกลยุทธ์การจัดกระบวนการเกมเพื่อส่งเสริม
ทักษะความเป็นพลเมือง โดยได้มีการเก็บข้อมูลผ่านทางเอกสารวิชาการและการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเปรียบเทียบ
และสังเคราะห์กระบวนการเกม ในการพัฒนาทักษะพลเมืองผ่าน 3 ตัวแสดงหลักอย่างพรรคการเมือง องค์กร
ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาในทั้ง 3 ประเทศ สอดคล้องกับหนึ่งในพันธกิจของส�านักนวัตกรรม
เพื่อประชาธิปไตย ที่มุ่งแสวงหาและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในการสนับสนุนความยั่งยืนของประชาธิปไตย
ในสังคมไทยจากรากฐาน
สถาบันพระปกเกล้าขอขอบคุณ วศิน ปั้นทอง, ผศ.ชาลินี สนพลาย, ดร.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล
และขวัญข้าว คงเดชา ที่ร่วมสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ และหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความสนใจ
ในความท้าทายของความเป็นพลเมืองในสภาวะประชาธิปไตยถดถอย และสามารถที่จะน�าองค์ความรู้ที่ได้จาก
หนังสือเล่มนี้ไปต่อยอด หรือปรับใช้เพื่อพัฒนาให้เกิดประชาธิปไตยที่ยั้งยืนและพลเมืองที่มีคุณภาพในสังคมไทย
ต่อไป
นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ
เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า