Page 87 - kpiebook67036
P. 87

86      ประเพณีการปกครองของสวีเดน: สภาท้องถิ่น (ting), สิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์ และเสรีภาพ
                    และปกครองตนเองของชาวนา (the Many)




             ชาวนาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นก�าลังที่ส�าคัญยิ่งหลายครั้ง โดยเฉพาะต่อในการต่อต้านการรุกราน

             ของเดนมาร์ก
                          218

                      จะเห็นได้ว่า ชาวนาถือเป็นปัจจัยทางการทหารที่ส�าคัญในการเมืองสวีเดน (The Peasant
             as a Military Factor) ด้วย ชาวนาสวีเดนเข้าไปมีส่วนในการตัดสินใจทางการเมืองในปลายยุคกลาง

             ในการต่อสู้เพื่อปลดแอกสวีเดนจากอิทธิพลของสหภาพคาลมาร์ภายใต้เดนมาร์ก เพราะชาวนาถือเป็น
             ก�าลังในทางการทหารที่มีความส�าคัญอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นลักษณะส�าคัญของชาวนาในสังคมสแกนดิเนเวีย

             นั่นคือ มีความเป็นกองทัพประชาชนนี้หรือ “ledung” ชาวนาคือคนส่วนใหญ่ (the many) พร้อมที่จะ
             สนับสนุนก�าลังคนหรือเรือ ให้ผู้น�าหรือกษัตริย์ (the one) ซึ่งเห็นได้ชัดในสวีเดนในราวต้นศตวรรษที่สิบห้า

             ในช่วงสงครามระหว่างสวีเดนกับเดนมาร์ก กองก�าลังชาวนาพิสูจน์ให้เห็นได้ชัดว่า ชาวนาสวีเดนสามารถ
             ปรับตัวเข้ากับการปฏิบัติการทางการทหารได้อย่างดี  219


                      จากการที่ชาวนาในฐานะที่เป็นคนส่วนใหญ่ (the many) และมีบทบาทส�าคัญในฐานะที่เป็น

             กลุ่มคน ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิ์เสรีภาพพื้นฐานของชาวสวีเดนตามจารีตประเพณีการปกครองดั้งเดิมอันท�าให้
             สวีเดนสามารถเป็นอิสระจากเดนมาร์กได้แล้ว ชาวนายังเป็นกองทัพประชาชนที่สามารถด้วย หากพิจารณา

             ชาวนาสวีเดนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกบุคคลและอภิชน (the one and the few) จะพบว่า ชาวนา
             เป็นพันธมิตรที่ส�าคัญของผู้น�าหรือผู้ส�าเร็จราชการในการต่อสู้เพื่อปลดแอกสวีเดนจากสหภาพคาลมาร์

             (Swedish Peasants in Alliance with the Regents) ในช่วงต้นศตวรรษที่สิบหก ด้วยความสามารถทาง
             การทหารของชาวนาสวีเดนท�าให้มีชาวนามีบทบาททางการเมืองที่อิสระพอสมควร ซึ่งความเป็นอิสระนี้

             มีรากฐานจากจารีตประเพณีการประชุมตัวแทนท้องถิ่นหรือ ting ของสวีเดนที่มีความโดดเด่นกว่ารัฐอื่นๆ
             ในยุโรปในช่วงเวลาเดียวกัน
                                      220














             218   Ingvar Andersson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia” in Scandinavian Democracy Development
             of Democratic Thought & Institutions in Denmark, Norway and Sweden, J.A. Lauwerys (editor) (Copenhagen:
             A/S J.H. Schultz, Universitets-Bogtrykkeri, 1958), p. 80.
             219   Ingvar Andersson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia” in Scandinavian Democracy Development

             of Democratic Thought & Institutions in Denmark, Norway and Sweden, J.A. Lauwerys (editor) (Copenhagen:
             A/S J.H. Schultz, Universitets-Bogtrykkeri, 1958), pp. 79-80.
             220   Ingvar Andersson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia” in Scandinavian Democracy Development
             of Democratic Thought & Institutions in Denmark, Norway and Sweden, J.A. Lauwerys (editor) (Copenhagen:
             A/S J.H. Schultz, Universitets-Bogtrykkeri, 1958), p. 81.
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92