Page 92 - kpiebook67036
P. 92

91





                  ของความเป็นคนหรือสมาชิกในสังคมสวีเดนโบราณได้ผ่านกรณีของการลงโทษ อย่างเช่นในการลงโทษ

                  ผู้ที่กระท�าความผิดเดียวกัน จะลงโทษไม่เท่ากัน โดยโทษจะแตกต่างกันไปตามความแตกต่างในสถานะ
                  ของคนในสังคม เช่น ในกรณีความผิดจากการฆาตกรรมผู้ที่เป็นทายาทของคนที่มีสถานะอันสมบูรณ์

                  ของการเป็นสมาชิกในสังคม (Man) จะหนักกว่าการฆาตกรรมผู้ที่เป็นทายาทของคนที่มีสถานะลดหลั่น
                  ลงมา อย่างเช่น ชาวนาที่เป็นเจ้าของที่ดิน (landed peasant) ก็จะมีสถานะสูงกว่าชาวนาที่เช่าที่ดินท�ากิน

                  (tenant farmer) ล�าดับต่อจากนั้นคือ ผู้ที่ไม่มีทรัพย์สิน (propertyless) และที่ต�่าลงมาอีกคือ พวกวณิพก
                  พเนจร (the travelling minstrels) และที่เป็นคนต�่าสุดคือขอทาน  228


                           อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า สังคมสวีเดนในช่วงนี้เป็น “สังคมชาวนาที่มีการจัดองค์กรแบบหลวมๆ”

                  ที่มีการเคลื่อนตัวขึ้นและลงทางสถานะทางสังคมได้ (social mobility) โดยปรกติ คนที่เป็นคนสมบูรณ์
                  เป็นสมาชิกสมบูรณ์ของชุมชนจะได้สถานะดังกล่าวนี้มาโดยก�าเนิด แม้ว่าการค้าและการเสี่ยงโชคในต่างแดน

                  จะเป็นปัจจัยที่ท�าให้สายสัมพันธ์แบบสังคมเครือญาติอ่อนตัวลง แต่ก็มีปัจจัยอื่นที่ท�าให้คนเลื่อนขึ้นสู่
                  สถานะของความเป็นคนที่มีอะไรหรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นคนที่มีบทบาทในสังคม (man of substance)

                                                                    229
                  อย่างในกรณีของชาวนาที่เป็นเสรีชน (free peasant)   มีต�าแหน่งหรือสถานะที่เรียกว่า bryten
                  ที่ท�าหน้าที่เป็นผู้ดูแลในลักษณะของหัวหน้าคนงานหรือผู้จัดการ เช่น บางคนเดิมทีเป็นทาส และในช่วงเวลา

                  ที่เริ่มมีกฎหมายท้องถิ่นที่เป็นลายลักษณ์อักษร คนเหล่านี้จะถูกถือว่าเป็นอิสระ แต่ไม่ได้ครอบครองที่ดินใดๆ
                  และก็ไม่มีสถานะเท่ากับ ชาวนาอิสระด้วย แต่ bryten คือคนที่กษัตริย์ใช้ในการบริหารแผ่นดิน รวมทั้ง

                  พระสังฆราชและอภิชนที่เป็นเจ้าที่ดินขนาดใหญ่ก็ใช้คนเหล่านี้ด้วย ล�าดับของความแตกต่างในกฎหมาย
                  ท้องถิ่นชี้ให้เห็นถึงการค่อยๆ วิวัฒนาการของสถานะของคนที่มีต�าแหน่งดังกล่าวนี้ การเลื่อนล�าดับ

                  ช่วงชั้นนี้จะดูจากโทษ-ค่าปรับ เพราะในสมัยหนึ่ง โทษในการฆาตกรรมทาสที่เป็นผู้จัดการจะเท่ากับ
                  คนที่เป็นทาสธรรมดา ต่อมา ความรุนแรงของการฆาตกรรมผู้ที่เป็นผู้จัดการจะสูงขึ้นเท่ากับชาวนาอิสระ

                  สิ่งที่เป็นเส้นแบ่งส�าคัญระหว่างการเป็นทาสและ การเป็นคนอิสระ คือ การชดเชยความเสียหายส�าหรับ
                  ทาสคือ การจ่ายค่าเสียหายให้ผู้เป็นนายทาส ไม่ใช่จ่ายไปที่ญาติของทาส และเมื่อมีการชดเชยแล้ว

                  ก็เป็นความรับผิดชอบของผู้ที่เป็นเจ้าของทาสนั้น  230












                  228   Joan Dyste Lind, “The Ending of Slavery in Sweden: Social Structure and Decision Making,” Scandinavian
                  Studies, Vol. 50, 1 (1978): 61.
                  229   Joan Dyste Lind, “The Ending of Slavery in Sweden: Social Structure and Decision Making,” Scandinavian
                  Studies, Vol. 50, 1 (1978): 61.
                  230   Joan Dyste Lind, “The Ending of Slavery in Sweden: Social Structure and Decision Making,” Scandinavian

                  Studies, Vol. 50, 1 (1978): 62.
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97