Page 86 - kpiebook67036
P. 86

85





                                  บทบาทส�าคัญทางการเมือง


                        ของชาวนาต่อการกอบกู้เสรีภาพของ


                              สวีเดนและการเกิดสภาฐานันดร










                           สวีเดนในยุคสหภาพคาลมาร์ (the Kalmar Union) ชาวนาได้ถูกคุกคามจาก Eric กษัตริย์เดนมาร์ก
                  ที่เป็นกษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งสหภาพ พระองค์พยายามจะจัดตั้งการปกครองที่รวมศูนย์ในแบบสมัยใหม่ขึ้น

                  (a modern centralized government) ส�าหรับทั้งสแกนดิเนเวีย มีการออกนโยบายเก็บภาษีที่โหดร้ายและ
                  ไม่เคารพต่อกฎหมายของสวีเดน ท�าให้ศาสนจักร อภิชน ชาวนาและชาวเหมืองในสวีเดนรวมตัวกันต่อต้าน

                  แข็งขืนต่อพระองค์ และภายใต้การน�าของ Engelbrekt Engelbrektsson ชาวนาติดอาวุธได้เข้าร่วมกับ
                  อภิชนและศาสนจักรในการท�าศึกกับทหารของกษัตริย์แห่งสหภาพในปี ค.ศ. 1434 ในถ้อยค�าของนักเขียน

                  เยอรมันในช่วงเวลาดังกล่าวได้บันทึกไว้ว่า “สวีเดนจะต้องกลับคืนสู่เงื่อนไขต่างๆ อย่างที่เคยเป็นในสมัย
                  Erik (Erik the Holy กษัตริย์สวีเดนในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1156-1160) ที่ต่อมาได้รับการสักการะบูชาประดุจ

                  นักบุญของสวีเดน ในยุคของ Erik ไม่มีการเก็บภาษีอากรต่างๆ กับชาวนา ที่ขณะนี้พวกเขาก�าลังต่อสู้
                  เพื่อทวงสิทธิ์ของพวกเขาคืนกลับมา”  217


                           ถ้าจะพิจารณาชาวนาในฐานะที่เป็นคนส่วนใหญ่ (the many) ของกลุ่มกบฏภายใต้การน�าของ
                  Engelbrekt ที่เป็นเอกบุคคล จะพบว่า อาจจะมีการประเมินชาวนาที่สูงเกินไป เพราะจากการศึกษาวิจัย

                  ในยุคสมัยใหม่ได้ชี้ให้เห็นว่า การต่อสู้ของชาวนามีความสอดคล้องกับกับเป้าหมายทางการเมืองของ

                  พวกอภิชนมาก ---ท�าให้เกิดค�าถามว่า การต่อสู้ของชาวนาเป็นกระแสของคนส่วนใหญ่เองจริงๆ หรือ
                  ชาวนาถูกใช้หรือถูกครอบง�าโดยพวกอภิชนมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่มีข้อสงสัยคือ การกบฏนี้
                  มีความส�าคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในอิทธิพลทางการเมืองของชาวนาที่ส่งผลต่อเนื่องยาวนาน

                  นั่นคือ การต่อสู้ในส่วนของชาวนาได้เร่งการเกิดรูปแบบของการเป็นตัวแทนในเวลาต่อมา ที่รู้จักกัน

                  ในนามของสภาฐานันดร (Riksdag/ parliament) ที่เป็นที่ประชุมที่มีลักษณะของสภาการปฏิวัติ
                  ในตอนแรกเริ่ม และเป็นที่ที่ชาวนามีตัวแทนที่เข้มแข็ง ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ปรกตินี้ผนวกกับการกบฏ
                  ต่อต้าน Erik ผลประโยชน์ของพ่อค้าคนเมือง (burghers) และชาวนาได้สะท้อนออกมาในการตัดสินใจ

                  ทางการเมืองที่ส�าคัญๆ ต่อมาในช่วงสงครามกลางเมืองในตอนกลางศตวรรษที่สิบห้า ที่กองก�าลัง




                  217   Ingvar Andersson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia” in Scandinavian Democracy Development
                  of Democratic Thought & Institutions in Denmark, Norway and Sweden, J.A. Lauwerys (editor) (Copenhagen:
                  A/S J.H. Schultz, Universitets-Bogtrykkeri, 1958), p. 79.
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91