Page 28 - kpiebook67026
P. 28
27
ในการรับรองเพศสภาพ หลักเกณฑและกระบวนการรับรองเพศสภาพ
ตลอดจนผลในทางกฎหมายของการรับรองเพศสภาพ
(3) บทสรุปและข้อเสนอแนะต่อการจัดท�ากฎหมายรับรองเพศสภาพ
ในประเทศไทย ซึ่งในบทนี้คณะผู้วิจัยจะได้ท�าการสรุปผลการวิจัย และ
จัดท�าข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และกฎหมายรับรองเพศสภาพส�าหรับ
ประเทศไทย
นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ
• เพศภาวะ (Gender) หมายถึง สิ่งบ่งบอกสถานะและบทบาททางเพศ
ของบุคคล ซึ่งมีมิติทางกายภาพ สรีระ อารมณ พฤติกรรม สังคม และ
วัฒนธรรมประกอบอยู่ ซึ่งหมายรวมถึงศัพทที่ใช้ทั่วไป เช่น เพศสภาพ
เพศสถานะ เพศทางสังคมวัฒนธรรม เพศส�านึก ก็ได้
• อัตลักษณทางเพศ (Gender Identity) หมายถึง การนิยาม หรือเจตจ�านง
ของบุคคลที่นิยามเพศภาวะของตน หรือต้องการให้คนอื่น ๆ รับรู้ว่า
ตนมีเพศภาวะแบบใด ซึ่งหมายรวมถึงศัพทที่ใช้ทั่วไป เช่น อัตลักษณ
ทางเพศภาวะ ตัวตนทางเพศ ก็ได้
• คนข้ามเพศ (Transgender) หมายถึง บุคคลที่เกิดมามีเพศก�าเนิดเป็น
เพศชาย เพศหญิง หรืออินเตอรเซ็กแล้วนิยามหรือมีเจตจ�านงที่จะใช้
ชีวิตเป็นเพศอื่น ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งชายข้ามเพศ (ชายข้ามเป็นหญิง) และ
หญิงข้ามเพศ (หญิงข้ามเป็นชาย) ซึ่งหมายรวมถึงศัพทที่ใช้ทั่วไป เช่น
สาวประเภทสอง กะเทย ก็ได้
• อินเตอรเซ็ก (Intersex) หมายถึง บุคคลที่เกิดมามีเพศก�าเนิดซับซ้อน
ของสรีระในการบ่งชี้เพศก�าเนิด ซึ่งอาจมีอวัยวะ โครโมโซม หรือยีนส
ที่ซับซ้อนระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือลักษณะอื่น เช่น มีโครโมโซม
เป็น XXY XYY เป็นต้น
คนที่นิยามตัวเองไม่อยู่ในระบบสองเพศ (Non-binary) หมายถึง บุคคลที่
นิยามหรือมีเจตจ�านงในเพศภาวะ และอัตลักษณทางเพศที่ไม่ใช่ผู้ชาย ผู้หญิง
หรืออินเตอรเซ็ก แต่มีอัตลักษณทางเพศนอกเหนือกว่านี้