Page 25 - kpiebook67026
P. 25
24 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
มีประสบการณที่ต้องเผชิญกับการเข้าถึงบริการสุขภาพตามเพศสภาพ และเพศวิถีรวม
ทั้งสิทธิสุขภาพที่ยังยึดตามเพศก�าเนิด ร้อยละ 49.73 มีประสบการณที่ต้องเผชิญกับ
การเข้าถึงงานที่ต้องการ และเหมาะสม รวมทั้งการเลือกปฏิบัติในการเข้าท�างาน
และร้อยละ 47.73 มีประสบการณที่ต้องเผชิญกับการยอมรับจากคนในครอบครัว
เนื่องมาจากเพศสภาพไม่ตรงกับเพศก�าเนิด และร้อยละ 46.49 มีประสบการณที่ต้อง
เผชิญกับการปฏิบัติงานของภาครัฐที่ยังมีข้อจ�ากัดทางด้านกฎหมายที่รับรองเพียง
เพศชายและหญิง 2
หากพิจารณาถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับรองเพศสภาพที่เกิดขึ้นใน
ต่างประเทศ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าประเทศอารเจนตินาเป็นประเทศแรกของโลกที่มี
การตรากฎหมายรับรองเพศสภาพ โดยกฎหมายฉบับนี้ถือว่าเป็นการรับรองเพศสภาพ
ของบุคคลบนพื้นฐานของการก�าหนดเจตจ�านงโดยตนเองเป็นฉบับแรกของโลก และ
ได้กลายเป็นต้นแบบในการตรากฎหมายรับรองเพศสภาพของบุคคลให้กับกลุ่มประเทศ
แถบยุโรปในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปอย่างน้อย
มีจ�านวน 39 ประเทศ มีกฎหมายให้การรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพแก่บุคคล
อย่างไรก็ตาม กฎหมายของประเทศเหล่านี้ยังคงมีการก�าหนดเงื่อนไขในการรับรอง
ที่แตกต่างกัน และมีเพียง 9 ประเทศเท่านั้นที่ให้การรับรองเพศสภาพของบุคคล
บนพื้นฐานของการก�าหนดเจตจ�านงโดยตนเอง เช่น ประเทศมอลตา ประเทศไอซแลนด
เป็นต้น ซึ่งผลจากการส�ารวจกฎหมายของต่างประเทศในเบื้องต้น ท�าให้เห็นได้ว่า
ประเทศที่ให้การรับรองเพศภาพของบุคคลบนพื้นฐานของการก�าหนดเจตจ�านงโดย
ตนเองที่สมควรน�ามาเป็นตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ประเทศอารเจนตินา เนื่องจาก
เป็นประเทศแรกของโลกที่มีการตรากฎหมายในลักษณะดังกล่าว และปัจจุบันกฎหมาย
ฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งในปี ค.ศ. 2021 ซึ่งท�าให้มีความก้าวหน้าเป็นอันมาก
ในขณะที่ประเทศมอลตานับว่าเป็นประเทศแรกที่มีการให้รับรองเพศสภาพแก่
บุคคลข้ามเพศ และบุคคลอินเตอรเซ็กอย่างชัดเจนโดยกฎหมายฉบับนี้ได้รับการปรับปรุง
แก้ไขให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีการแก้ไขครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2018 และ
ประเทศไอซแลนดนับว่าเป็นกฎหมายที่ให้การรับรองเพศสภาพที่ก้าวหน้ามากที่สุด
2 มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน, รายงานการวิจัยเรื่องความต้องการ ปัญหา และ
อุปสรรคของบุคคลข้ามเพศที่เกี่ยวเนื่องกับการรับรองสถานภาพและค�าน�าหน้า. (เดือนกันยายน
2558).