Page 24 - kpiebook67026
P. 24

23









                                       บทที่ 1




                                          บทน�า

















               1.1 ความเป็ นมาและความส�าคัญของปั ญหา

                      เมื่อบุคคลคนหนึ่งถือก�าเนิดขึ้นมาบุคคลจะได้รับ “สถานะบุคคล” โดยกฎหมาย

               ซึ่งสิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลตามกฎหมายเป็นเงื่อนไขขั้นพื้นฐาน เพื่อยืนยัน
               ศักดิ์ศรีและคุณค่าของบุคคลแต่ละคน ส�าหรับบุคคลข้ามเพศ ซึ่งถือบัตรประจ�าตัว
               ประชาชน และบัตรที่รัฐออกให้ที่ไม่สอดคล้องหรือตรงกับอัตลักษณทางเพศและ

               ลักษณะภายนอกของตน การมีปฏิสัมพันธทุกเมื่อเชื่อวันอาจท�าให้เกิดความทุกขใจ

               จากความอับอายและอาจท�าให้เกิดอันตราย บุคคลข้ามเพศในประเทศไทยได้ให้ข้อมูล
               อธิบายถึงสภาพอันเป็นผลมาจากการขาดการรับรองอัตลักษณทางเพศตามกฎหมาย
               รวมทั้งภาพเหมารวมที่กว้างขวางและเป็นอันตราย ซึ่งได้กลายเป็นข้อจ�ากัดต่อการเข้าถึง

               บริการ และท�าให้ต้องถูกลบหลู่ดูหมิ่นทุกวัน  ซึ่งรากเหง้าของปัญหาอยู่ที่ “กฎหมาย”
                                                  1
               ที่ไม่เป็นธรรม สิทธิทางกฎหมายที่ยังไม่ครอบคลุมถึงมิติของเพศสภาพแต่กลับยึดติด
               กับเพศก�าเนิด จากรายงานการวิจัยเรื่อง “ความต้องการ ปัญหา อุปสรรคของบุคคล
               ข้ามเพศเกี่ยวเนื่องกับการรับรองสถานภาพและค�าน�าหน้านาม” ในปี ค.ศ. 2015

               ในกลุ่มคนข้ามเพศจ�านวน 265 คน พบว่า คนข้ามเพศต้องพบกับปัญหาที่เกิดจาก

               การไม่ได้รับการรับรองอัตลักษณทางเพศภาวะด้วยทางกฎหมาย ดังนี้คือ ร้อยละ 80

               1    ฮิวแมนไรท์วอทซ์, “คุณจับคนยัดไว้ในกล่องไม่ได้หรอก” ความจ�าเป็นในการรับรองอัตลักษณ์
               ทางเพศตามกฎหมายของประเทศไทย. (เดือนธันวาคม 2564).
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29