Page 26 - kpiebook67026
P. 26
25
เนื่องจากให้การรับรองเพศสภาพแก่บุคคลทุกกลุ่มอย่างชัดเจนโดยครอบคลุมถึง
กลุ่มนอนไบนารี่อย่างเป็นทางการในกฎหมายระดับรัฐบัญญัติเป็นครั้งแรกของโลกด้วย
ซึ่งปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้งในปี ค.ศ. 2020 กล่าวได้ว่า กฎหมายรับรอง
เพศสภาพของประเทศอารเจนตินา ประเทศมอลตา และประเทศไอซแลนดจึงสามารถ
เป็นบทเรียนและแนวทางให้กับประเทศอื่น ๆ ได้ โดยที่ประเทศไทยเองก็มีการขับเคลื่อน
ร่างกฎหมายดังกล่าวจากหลายภาคส่วน อาทิ พรรคการเมือง ภาคประชาสังคม และ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย ในขณะที่บรรยากาศทางสังคม
ก็ยังคงมีข้อถกเถียงทั้งในระดับของกลุ่มคนที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายรับรอง
เพศสภาพ และบุคคลอื่น ๆ ในสังคมไทยทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หรือแม้แต่
ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจ หรือความชัดเจนในจุดยืนที่จะสนับสนุนให้มีกฎหมายรับรอง
เพศสภาพในสังคมไทย ซึ่งแล้วแต่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนร่างกฎหมายดังกล่าว
ดังนั้น ศึกษาผลกระทบในมิติกฎหมาย การด�าเนินงานรัฐและเอกชน สิทธิ
สังคม วัฒนธรรม และคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย
รับรองเพศสภาพในประเทศประเทศอารเจนตินา มอลตา และไอซแลนด จึงจ�าเป็นยิ่ง
ที่ต้องด�าเนินการเพื่อให้เข้าใจศึกษาผลกระทบในมิติกฎหมาย การด�าเนินงานรัฐ
และเอกชน สิทธิ สังคม วัฒนธรรมและคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนที่ได้รับการคุ้มครอง
จากกฎหมายรับรองเพศสภาพ และได้ข้อเสนอแนะ จัดท�า policy brief และ
น�าเสนอผลการศึกษาต่อสาธารณะโดยเฉพาะต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือบทเรียนที่สามารถ
น�ามาประยุกตหรือเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนกฎหมายรับรองเพศสภาพ
ในสังคมไทย ซึ่งไม่ใช่เพียงเพื่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่เพื่อสิทธิโอกาส
และสุขภาวะของคนทุกคนในสังคม
1.2 ค�าถามในการศึกษา
ผลกระทบในมิติกฎหมาย การด�าเนินงานรัฐและเอกชน สิทธิ สังคม วัฒนธรรม
และคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายรับรองเพศสภาพ (Gender
recognition law) ในประเทศอารเจนตินา มอลตา และไอซแลนด และจะน�ามาปรับใช้
ในประเทศไทยอย่างไร