Page 27 - kpiebook67026
P. 27

26     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์




            1.3 วัตถุประสงค์ ในการศึกษา

                   ศึกษาผลกระทบในมิติกฎหมาย การด�าเนินงานรัฐและเอกชน สิทธิ สังคม

            วัฒนธรรม และคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายรับรองเพศ
            สภาพในประเทศอารเจนตินา มอลตา และไอซแลนด และจัดท�าข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
            และกฎหมายส�าหรับประเทศไทย






            1.4 ขอบเขตการวิจัย


                   การศึกษาครั้งนี้มีขอบเขตในการศึกษาเนื้อหาในประเด็นผลที่เกิดขึ้นทั้ง
            เชิงบวกและเชิงลบ ทั้งในมิติของกฎหมายภายในประเทศ การด�าเนินงานรัฐและเอกชน

            สิทธิมนุษยชน ลักษณะหรือสภาพบรรยากาศทางสังคม มิติทางวัฒนธรรม และประเด็น
            คุณภาพชีวิต ในขณะที่ขอบเขตด้านประชากรนั้นมุ่งศึกษาผลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคน

            ที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายรับรองเพศสภาพ ได้แก่ คนข้ามเพศทั้งชายและหญิง
            ข้ามเพศ (Transgender) คนที่นิยามตัวเองไม่อยู่ในระบบสองเพศ (Non binary)

            และบุคคลที่มีลักษณะทางกายภาพทางเพศที่ซับซ้อน (Intersex) และขอบเขต
            เชิงพื้นที่มุ่งศึกษาในบริบทของประเทศประเทศอารเจนตินา มอลตา และไอซแลนด

            ซึ่งมีการบังคับใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพแล้ว โดยในการศึกษาครั้งนี้ คณะผู้วิจัย
            ได้จ�าแนกประเด็นการศึกษาดังนี้


                   (1) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย แนวคิดสตรีนิยม
                      หลังสมัยใหม่ว่าด้วยเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี แนวคิดสิทธิมนุษยชน

                      ในเรื่องอัตลักษณทางเพศ และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในเรื่องอัตลักษณ
                      ทางเพศในระดับสากล

                   (2) การรับรองเพศสภาพกับข้อเปรียบเทียบประเด็นทางกฎหมายในประเทศ

                      กรณีศึกษา ได้แก่ ประเทศอารเจนตินา ประเทศมอลตา และประเทศ

                      ไอซแลนด โดยจะท�าการศึกษาถึงบริบททั่วไปของการตรากฎหมายรับรอง
                      เพศสภาพ และข้อเปรียบเทียบประเด็นทางกฎหมายที่เกิดขึ้นใน 3 ประเทศ
                      เหล่านี้ในเรื่องวัตถุประสงคและขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย เงื่อนไข
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32