Page 131 - kpiebook67026
P. 131

130     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



            การรักษาในทางการแพทยรวมถึงการผ่าตัดเด็กที่เกิดมาเป็นอินเตอรเซ็กยังคงถือว่า
            เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปอยู่แล้ว 119

                   ในปีค.ศ. 2015 ประเทศมอลตาถือเป็นประเทศแรกที่ให้อ�านาจแก่บิดามารดา

            ของเด็กในการตัดสินใจว่าจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนเพศของบุตรแรกเกิด
            อย่างไรก็ตาม เด็กทุกคนจะต้องได้รับการจดทะเบียนเพศในระบบสองเพศเมื่ออายุครบ

            18 ปีในภายหลัง ซึ่งหมายความว่าเฉพาะเด็กเท่านั้น (ไม่รวมถึงผู้บรรลุนิติภาวะ)
            ที่สามารถด�ารงอยู่ได้โดยที่ไม่ต้องระบุเพศในทางกฎหมายจนกว่าจะมีอายุครบ 18 ปี

            บริบูรณ

                   ส�าหรับการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเพศของเด็กแรกเกิดที่เป็นอินเตอรเซ็กจะถูกระบุ
            ภายใต้ค�าว่า “undetermined” และปรากฏตัว X ในบัตรประชาชนและหนังสือเดินทาง

            ตัวอย่างเช่น เด็กแรกเกิด หากเกิดมาโดยมีพัฒนาการของอวัยวะเพศที่ไม่สมบูรณและ
            ยากแก่วินิจฉัยว่าเป็นเพศใด ก็จะถูกระบุว่าเป็น “undetermined” ซึ่งหากเด็กคนนั้น

            ต้องการเปลี่ยนเพศของตนมาอยู่ในระบบสองเพศ ก็สามารถกระท�าได้โดยยื่นค�าร้องต่อ
            ศาล (กรณีเด็กอายุต�่ากว่า 16 ปี) แต่หากเด็กอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปสามารถใช้ Notary ได้

            ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกับการเปลี่ยนเพศจากชายเป็นหญิงและจากหญิงเป็นชาย

                   นับตั้งแต่ปีค.ศ. 2017 ประเทศมอลตาให้การรับรองว่าบุคคลซึ่งเป็นประชากร
            ของประเทศมอลตาสามารถระบุเพศของในตนในหนังสือเดินทาง (passport) และ

            บัตรประชาชน (identity card) โดยใช้ค�าว่า เพศชาย (male) หรือเพศหญิง (female)

            หรือ เพศอื่น ๆ (other) ได้ ซึ่งการสร้างค�าว่า “เพศอื่น ๆ (other)” ขึ้นมานี้เพื่อรองรับ
            ความต้องการของบุคคลที่ไม่ประสงคระบุว่าตนเป็นเพศชายหรือเพศหญิง และบุคคลนั้น
            มีความต้องการที่จะด�ารงอยู่ภายใต้อัตลักษณทางเพศที่เขาเลือกโดยปรากฏอัตลักษณ

                                               120
            ทางเพศเช่นว่านั้นอยู่ในเอกสารการเดินทาง  ดังนั้น การใช้เพศ X ในประเทศมอลตา
            หมายถึง การไม่ระบุเพศ (undeclared) ซึ่งมิได้หมายความว่าเป็นเพศที่ 3 หากแต่
            เป็นการระบุว่าบุคคลนั้นไม่ต้องการเป็นเพศใด (non-registration of a gender)
                                                                              121

            119    European Union Agency for Fundamental Rights (FRA), “The fundamental
            rights situation of the intersex people”, pp.4-5., Accessed December 20, 2015,
            http://fra.europa.eu/sites/default/files/fra-2015-focus-04-intersex.pdf .
            120    Equality & Justice Alliance, supra note 59, p.40.
            121    Lena Holzer, Non-Binary gender registration models in Europe report on third
            gender marker or no gender marker options, (ILGA Europe, 2018), p.19.
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136