Page 130 - kpiebook67026
P. 130
129
3.2.4 ผลในทางกฎหมายของการรับรองเพศสภาพ
3.2.4.1 การระบุเพศในเอกสารทางราชการ
(1) ประเทศอาร์เจนตินา
ตามกฎหมายว่าด้วยอัตลักษณทางเพศสภาพ ค.ศ. 2012 (Law No. 26.743)
และรัฐก�าหนดฉบับที่ 476/2021 (Decreto 476/2021; Decree 476/2021) ได้วาง
หลักเกณฑว่า บุคคลย่อมมีสิทธิยื่นค�าร้องเพื่อระบุเพศสภาพของตนในบัตรประจ�าตัว
ประชาชนหรือหนังสือเดินทาง โดยใช้ F เพื่อสื่อถึงการเป็นเพศหญิง (Feminine)
ใช้ M เพื่อสื่อถึงการเป็นเพศชาย (Masculine) นอกจากนั้น ยังให้การรับรองว่า
บุคคลย่อมมีสิทธิยื่นค�าร้องเพื่อระบุเพศสภาพของตนโดยใช้เครื่องหมายระบุเพศ “X”
ในกรณีดังต่อไปนี้ 117
“X” หมายถึง กลุ่มนอนไบนารี่ บุคคลที่มีเพศไม่แน่นอน บุคคลที่มีเพศ
ไม่ชัดเจน บุคคลที่ไม่สามารถระบุเพศอย่างชัดเจนได้ บุคคลที่ไม่มีรายงานว่า
เป็นเพศใด บุคคลที่รับรู้เพศสภาพนั้นด้วยตนเอง รวมถึงกลุ่มบุคคลที่ไม่ประสงค
จะระบุว่าตนมีอัตลักษณเป็นเพศชายหรือหญิงก็ได้ (“non-binary, indeterminate,
unspecified, indefinite, not reported, self-perceived (…) or another meaning,
which the person who does not feel included in the masculine / feminine
binomial may identify with”)
(2) ประเทศมอลตา
ในประเทศมอลตาได้ก�าหนดให้การระบุเพศของเด็กแรกเกิดที่เป็นอินเตอรเซ็ก
จะถูกเลื่อนไปจนกว่าเด็กจะตัดสินใจเลือกอัตลักษณทางเพศของตน ซึ่งกฎหมาย
ก�าหนดให้บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีย่อมมีสิทธิร้องขอให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
ในใบสูติบัตรได้ จะเห็นได้ว่าการเลื่อนระยะเวลาการจดทะเบียนในใบสูติบัตรจะเป็น
118
ประโยชนในทางการแพทยต่อการระบุเพศที่มีความเด่นชัดกว่า (Medical identification
of a preponderant sex) ว่าเด็กแรกเกิดจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง อย่างไรก็ตาม
117 Article 4 of Decree N° 476/2021.
118 Article 8 (1) of Gender Identity, Gender Expression and Sex Characteristics Act
No. XI of 2015, as amended by Acts XX of 2015 and LVI of 2016 and XIII of 2018.