Page 52 - kpiebook67020
P. 52

51




                  2) การขยายตัวของร้านค้าต่างชาติและการครองส่วนแบ่งการตลาดของ

           สินค้าต่างประเทศ การมีจ�านวนร้านค้าของชาวต่างชาติจ�านวนมากและขยายตัว
           อย่างต่อเนื่อง ท�าให้ร้านค้าของคนไทยเกิดความเสียเปรียบในการแข่งขันทางด้าน
           ราคาและความหลากหลาย ท�าให้สินค้าประเภทเดียวกันหรือคุณลักษณะใกล้เคียงกัน

           มีราคาที่ถูกกว่าหรือเท่ากัน แม้ในทางหนึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่ท�าให้ได้ราคาสินค้า

           ในราคาต�่า แต่ในทางหนึ่งก็ท�าให้ร้านค้าของคนไทยเกิดความเสียเปรียบในการแข่งขัน
           กับร้านค้าของชาวต่างชาติไปโดยปริยายนอกเหนือจากการมีร้านค้าที่เป็นของคนต่างชาติ
           หรือร้านค้าของคนต่างชาติที่ใช้บัญชีคนไทยเป็นส่วนใหญ่ใน e-marketplace platform

           แล้ว ร้านค้าของคนไทยเองก็น�าเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจ�าหน่ายด้วยเช่นกัน

           โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีน ซึ่งนั่นหมายความว่า ท�าให้สินค้าจากต่างประเทศ
           ครองส่วนแบ่งการตลาดใน e-marketplace platform ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค
           คนไทย ซึ่งได้แก่ Shopee, Lazada, JD Central จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อ

           ผู้ผลิตสินค้าคนไทยที่ผลิตในประเทศ


                  3) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการจากร้านค้า ซึ่งเจ้าของตลาด
           หรือบริษัทผู้ให้บริการ e-marketplace platform ได้เรียกเก็บ “ค่าเช่าแผง”

           จากร้านค้าในแพลตฟอร์มไม่ต่างจากเจ้าของตลาดทั่วไป แบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลัก ๆ
           ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการขาย (sale transaction fee) ค่าธรรมเนียมการท�าธุรกรรม

           และค่าธรรมเนียมส�าหรับร้านค้าที่เข้าร่วมการส่งเสริมการขาย (campaign) ค่าธรรมเนียม
           เหล่านี้ล้วนแปรสภาพเป็นต้นทุนของร้านค้า จึงอาจท�าให้ผู้ประกอบการบางราย

           ขายสินค้าและบริการในราคาขายที่ไม่ได้สูงกว่าต้นทุนมากนัก ท�าให้ได้ก�าไรน้อย
           จึงต้องมุ่งเน้นให้ขายได้ในปริมาณมากขึ้น ฉะนั้น ผู้ประกอบการจ�านวนมากจึงอาจจะ

           เลือกใช้วิธีเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมการขายของบริษัทผู้ให้บริการ e-marketplace
           platform เพื่อเพิ่มการมองเห็น (engagement) กระตุ้นการขายและหาโอกาสสร้าง
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57