Page 455 - kpiebook67020
P. 455

454  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




               4. ความเสี่ยงหรือเงื่อนไขที่จะท�าให้เกิดวิกฤตสังคม

               ค�าถามแรกของบทความนี้ที่ว่าอะไรคือความเสี่ยงหรือเงื่อนไขที่ท�าให้ปัญหา
        ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมด�าเนินไปสู่วิกฤตสังคม จากการสังเคราะห์ข้อมูล

        ทั้งเอกสาร การสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม ผู้เขียนขอสรุปความเสี่ยงที่ส�าคัญส�าหรับ
        ความอยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยจากกรณีศึกษาเป็นสามประการ ได้แก่

        การท�าให้เกิดความรู้สึกไม่มีทางออก นโยบายและการบังคับใช้กฎหมายที่มีความแข็งตัว
        และกลไกความยุติธรรมที่อยุติธรรม


               การท�าให้เกิดความรู้สึกไม่มีทางออก

               ความเสี่ยงในประเด็นนี้ เป็นทั้งการเพิกเฉยต่อปัญหาที่ผู้ได้รับผลกระทบ

        เรียกร้องและความกดดันจากหน่วยงานรัฐต่อผู้ได้รับผลกระทบ กรณีปากมูล
        กับกรณีโรงไฟฟ้าจะนะเห็นได้ชัดว่าเป็นความเสี่ยงจากการที่รัฐเพิกเฉยต่อปัญหา

        หรือไม่สามารถจัดการปัญหาได้ อาจท�าให้ผู้ได้รับผลกระทบหาทางออกด้วยการใช้
        ความรุนแรง ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า การปิดล้อมท�าเนียบหรือปิดถนน อาจได้ผล

        ในยุคก่อนเพื่อจะเรียกร้อง แต่ทุกวันนี้การประท้วงแบบเดิมไม่เป็นผล บางครั้ง
        มีการลอบท�าร้ายผู้คัดค้านเช่นชาวปากมูลที่มาชุมนุม ชาวบ้านชุมนุมแบบสันติวิธี

        แต่กลับถูกใช้ความรุนแรง ท�าให้ชาวบ้านไม่มีทางออกและปลายทางเขาอาจจะตอบโต้
        ด้วยความรุนแรงที่เรียกว่าการก่อการร้ายก็ได้ (ผู้ให้ข้อมูล 1 [สัมภาษณ์], 28 ธันวาคม

        2564)

               การท�าให้เกิดความรู้สึกว่าไม่มีทางออกด้วยการกดดันก็สามารถน�าไปสู่วิกฤติ

        เช่นกัน ดังกรณีของชาวบ้านบางกลอยที่ถูกผลักดันออกจากพื้นที่อาศัยเดิมของตน
        ทั้งที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมก่อนประกาศพื้นที่อุทยาน ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า

        วิกฤติส�าคัญคือช่วงโควิด-19 ระบาด เพราะชาวบ้านบางกลอยที่ถูกผลักดันออกมา
   450   451   452   453   454   455   456   457   458   459   460